มี หลายๆ ท่าน คง อยาก ทราบ ว่า การ ปรับ ความตึง ของ สายพาน ใน ระดับ ใด ถึงจะ เหมาะสม ที่สุด เรา ลอง มาดู บท สนทนา ด้าน ล่าง ต่อ ไป นี้ กัน นะ ค่ะ จะทำให้ เรา ทราบ ความตึง ที่เหมาะสม มาก ขึ้น
ถาม : คุณ TCB ครับ ช่าง ซ่อม บำรุง รักษา ที่ โรงงาน ของผม บอกว่าต้อง ปรับ ความตึง ของ สายพานให้ มาก ที่สุด เข้าไว้เพื่อ ไม่ให้ สายพาน ลื่น (slip) คุณ TCB มี ความเห็น อย่างไร บ้างครับ?
ตอบ : การ ปรับ ความตึง ของ สายพาน นั้น เรา ต้อง พยายาม ปรับ ให้ได้ ความตึง ที่ พอดีๆ ถ้า ปรับความตึง น้อย เกินไปก็จะทำให้ สายพาน ลื่น (slip) ได้ เนื่อง จาก กำลังขับ ไม่ สามารถ เอา ชนะ แรงเสียดทาน (Fiction) ใน ระบบได้ แต่หาก ปรับ ตึง มาก เกิน ไป ก็ จะ ทำให้ อายุ การใช้งาน ของ แบริ่ง (Drive Bearing) หรือ ที่เรียกว่า ตลับ ลูกปืน นั้น สั้น ลง เนื่องจาก แบริ่ง ต้อง รับ ภาระ ในการ บรรทุกมากกว่า ปกติ ดังนั้น การ ปรับ ความตึง ให้มีความ พอเหมาะ พอดี จึงมี ความ สำคัญ มาก เพื่อให้ ระบบ สายพาน ลำเลียง ทำงานได้โดย มี ประสิทธิภาพ สูงสุด และ มี ค่า ใช้ จ่าย ใน การบำรุง รักษา น้อยที่สุด ครับ
เราได้ยกตัวอย่างการปรับความตึงของสายพานมาให้ดูในรูปที่ 1-3 ด้วยครับ
รูปที่ 1 แสดงการติดตั้ง Belt Take-Up เพื่อปรับความตึง
รูปที่ 2 แสดงลักษณะการติดตั้ง Pulley Take-Up ที่บริเวณ Drive Pulley
รูปที่ 3 แสดงการใช้ Return Idler มาใช้ในการปรับความตึง
ถาม : แล้ว ความตึง ที่ พอดี มัน เป็น อย่างไร ดี ครับ?
ตอบ : โดย พื้นฐาน ของ ความตึง ที่ พอดี คือ ความตึง ที่ น้อย ที่ สุด ที่ สายพาน สามารถ วิ่ง (run) ได้ ใน ขณะ สภาพ ที่ บรรทุก ของ เต็ม ที่ (full load) โดย ที่ สายพาน นั้น ไม่ลื่น (slip) ครับ คุณ ต้องให้ ช่าง ของ คุณ ลอง ปรับ หา ส่วน ผสม ที่ ลงตัว ให้ ได้ นะครับ ใช้ ความ พยายาม และ ช่าง สังเกต เพิ่ม เติม อีก สัก หน่อย หวัง ว่า คุณ คง ประสบ ผล สำเร็จ นะครับ หาก มี คำถาม เพิ่ม เติม ก็ ลอง สอบ ถาม เข้า มา ที่ TCB ได้ นะ ครับ ที่ tcb@thaiconveyorbelt.com จะ มี ผู้ เชี่ยวชาญ คอยให้ คำ ปรึกษา แนะนำ ตลอด 24 ชั่วโมง ครับ สำหรับ วันนี้ สวัสดี ครับ....
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”