ถาม : คุณ TCB ครับ ผมสังเกตว่าใน ระบบ สายพาน ที่โรงงานมีก้อนคอนกรีตโต ๆ หนัก ๆ ถ่วงอยู่ในระบบ สายพาน ลำเลียง เห็นแล้วแปลกตาดีแต่..มันมีเอาไว้ทำอะไรครับ?
ตอบ : มันต้องมีหน้าที่ต้องทำอย่างแน่นอน ครับสิ่งที่คุณเห็นเรียกว่าถังถ่วง (Counter Weight) ถังถ่วงเป็น Belt Take-Up ซึ่งทำหน้าที่ปรับความตึง สายพาน ให้พอเหมาะโดยใช้น้ำหนักกดที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวถ่วง
1. น้ำหนักของถังถ่วงจะปรับให้ความตึงด้านหย่อน (Slack side Tension,T2) ที่ Drive Pulley ให้ มีค่าความตึงที่
Pulley ให้ มีค่าความตึงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ สายพานลื่น (Belt Slip)
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของ Take-Up แบบที่ใช้งานกันทั่วไป
รูปที่ 2 แสดงลักษณะของการตกท้องช่างจาก สายพาน หย่อน
2. ตุ้มถ่วง มีหน้าที่ทำให้แรงตึงของ สายพาน มีค่าสม่ำเสมอตลอดแนว สายพาน ซึ่งมีผลดีคือ จะ ช่วยให้วัสดุที่ ลำเลียง มาคงรูปใน สายพาน (ปกติเป็นรูปแอ่ง) ไม่ร่วงหล่นออกไปถ้าหากไม่มี การ ปรับความตึง แล้วน้ำหนักของวัสดุที่อยู่บนระหว่าง ลูกกลิ้ง จะกดให้สายพาน เสียรูปหรือแอ่น (ตก ท้องช้าง) วัสดุที่ ลำเลียง มาก็จะหลุดล่วงออกจาก สายพาน ได้
3. ถังถ่วงมีเพื่อที่จะเก็บความยาวของ สายพาน ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก สายพาน ยืด (Stretch for elongation) เนื่องจาก สายพาน ที่ถูกใช้งานแล้วจะมีการยืดตัวยาวกว่าตอนที่ติดตั้งครั้งแรกหากไม่ มีระยะ Take- up ที่จะปรับให้ สายพาน ตึงตลอดเวลาแล้ว สายพาน จะหย่อนต้องคอยตัดและต่อ สายพาน เมื่อเกิดการยืดตัวที่มากเกินไปอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้สายพาน มีความยาวที่เหมาะสม สามารถทำงานได้ตามปรกติ Take-up จะช่วยเก็บความยาวของ สายพาน ที่ยืดออกมานี้ได้จำนวนหนึ่งตามระยะทางที่ได้ออกมา
รูปที่ 2 แสดงลักษณะของตุ้มถ่วงแบบใช้น้ำหนักตัวเอง (Gravity Take-Up)
รูปที่ 3 แสดงลักษณะการทำงานของ Gravity Take-Up
4. เมื่อมีความจำเป็นต้องต่อ สายพาน หลังจากดึง สายพาน เข้าระบบแล้วส่วนปลาย ของสายพาน ทั้งสองข้างจะต้องมีระยะทางยาว (Splice length) เพียงพอตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการ ต่อ สายพาน หากระบบ สายพาน ลำเลียง ไม่มี Take-up ที่จะเป็น ตัวเก็บสายพาน เผื่อไว้แล้วความยาว ของสายพาน ที่เหลือจะไม่เพียงพอสำหรับการต่อ จึงจำเป็นต้องนำ สายพาน เส้นใหม่มาต่อกับ สายพาน เดิมโดยต้องต่อสองครั้งแทนที่จะต่อเพียงครั้งเดียวทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ จำเป็น…..***ช่าง TCB สามารถแนะนำท่าน สำหรับการเผื่อ Take-up ที่เหมาะสมได้
ข้อที่ควรคำนึงก่อนซื้อ สายพาน ใหม่อย่าลืมคิดเผื่อความยาวของระยะ Take-Up ด้วยหากท่านลืม ท่านจะได้ สายพาน สั้นกว่าปกติ และต้องเรียก TCB ไปบริการต่อ สายพาน ให้ท่านเพื่อที่จะได้มีความยาวเพียงพอสำหรับการใช้งาน
ท่านเสียเงินค่าต่อ สายพาน ... ไม่น่าจะเป็นเรื่องดี TCB น่าจะพอใจแต่ไม่ใช่เลย ... แต่เรายังต้องการให้ความรู้และใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของท่าน และในที่สุดก็จะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆคนในวงการนี้
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”