สายพาน ตกท้องช้าง ( Belt Sag )
วันนี้คอลัมน์ น้องใหม่อยากรู้ ถือเป็นโอกาสดีในการเปิดคอลัมน์ครั้งแรก เพราะได้รับเกียรติจากพี่ๆทีมงาน สายพาน ไทย ทีมี ประสบการณ์ ในงาน ซ่อมบำรุง ระบบ สายพาน ลำเลียง ในอุตสาหกรรมมานับ 10 ปี มาให้ความรู้ในเรื่องการเกิด สายพาน ตกท้องช้าง ซึ่งบรรยากาศในวันนี้ก็สบายๆ ฟ้าหลังฝนกำลังสดใสเหมาะแก่การพูดคุยกัน พี่ๆผู้คร่ำหวอดในวงการได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ ตกท้องช้าง ของ สายพาน ไว้ดังนี้
รูปที่ 1 แสดงการตกท้องเนื่องมาจากบรรทุกเติมอัตรา
รูปที่ 2 แสดงลักษณะของแรงที่ทำให้เกิดการตกท้องช้างบนสายพาน
qb = น้ำหนักของสายพาน (kg/m)
qG = น้ำหนักของวัสดุ (kg/m)
น้องใหม่อยากรู้ : สวัสดีค่ะ พี่ๆทุกท่าน ขอบคุณนะค่ะที่ให้เกียรติกับคอลัมน์น้องใหม่อยากรู้ มาพูดคุยกับเราในวันนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ ดีมากๆ เพราะเป็นวันเปิดตัวคอลัมน์น้องใหม่อยากรู้ ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ
พี่ทีมงาน : ยินดีเสมอครับ หากเป็นเรื่องที่พี่ตอบได้พี่ยินดีครับ
น้องใหม่อยากรู้ : ขอบคุณค่ะ พี่ๆทุกคนน่ารักสำหรับน้องๆเสมอนะค่ะ วันนี้เรื่องที่อยากจะขอความรู้จากพี่ๆคือ เรื่องการเกิดสายพานตกท้องช้าง มันเกิดขึ้นได้ยังไงค่ะ
พี่ทีมงาน : การเกิด สายพาน ตกท้องช้าง เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุครับ หลักๆแล้ว อยู่ที่การคำนวณและ ออกแบบ โครงสร้าง ระบบ สายพาน ลำเลียง ว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราการ ลำเลียง ขนถ่ายหรือไม่ สัมพันธ์กับประเภท ขนาด ชนิด และน้ำหนักวัสดุที่ใช้ในการขนถ่ายมั๊ย สัมพันธ์กับความเร็วรอบหรือเปล่า หรือน้ำหนักของ ตุ้มถ่วง มากพอที่จะถ่วง สายพาน ทั้งเส้นให้ได้ความตึงมั๊ย หากคำนวณไม่ได้ขนาดแทนที่ ตุ้มถ่วง จะถ่วงน้ำหนัก สายพาน ทั้งเส้นให้ตึง กลับจะถูก สายพาน ดึง ตุ้มถ่วง ขึ้นไป กลายเป็น สายพาน หย่อนแทน ดังนั้น หากการคำนวณและออกแบบไม่สัมพันธ์กับปัจจัยข้างต้น สายพาน จะเกิดการยืดตัวเมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อ สายพาน ยืดตัวมากขึ้นก็จะเกิดการหย่อนของ สายพาน อาการนี้เรียกว่า การเกิด สายพาน ตกท้องช้าง หรือ Belt Sag นั่นเอง
น้องใหม่อยากรู้ : นอกจากอยู่ที่เรื่องการคำนวณ ออกแบบ โครงสร้าง ระบบ สายพาน ลำเลียง แล้ว ยังมีสาเหตุอื่นอีกมั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : อ๋อ....มีครับ น้องๆลองนึกภาพดูว่า สายพาน จะคงรูปอยู่ได้ก็ต้องมีที่รองรับใช่มั๊ยครับ ไอ้ที่มารองรับ สายพาน เขาเรียกว่า ลูกกลิ้ง (Idler) สายพาน ก็จะพาดผ่าน ลูกกลิ้ง นี่แหละ คราวนี้มาดูว่าถ้าเราเลือกระยะห่างของ ลูกกลิ้ง ไม่เหมาะสม คือห่างมากเกินไป สายพาน ก็จะมีอาการ ตกท้องช้าง ได้มาก
น้องใหม่อยากรู้ : อ๋อ...งั้นเราก็ต้องเลือกระยะห่างของ ลูกกลิ้ง ให้ถี่ๆเลยดีมั๊ย สายพานจะได้ไม่มีอาการ ตกท้องช้าง
พี่ทีมงาน : ใช่แล้ว...แต่...น้องต้องคิดว่าเราต้องใช้ ลูกกลิ้ง จำนวนมาก มันเปลือง ค่าใช้จ่าย โดยใช่เหตุหรือปล่าว คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เราต้องพิจารณาหลายๆด้านประกอบกันด้วยครับ
น้องใหม่อยากรู้ : งั้นเราก็ต้องเลือกระยะห่างของ ลูกกลิ้ง ให้พอดีซีค่ะ ถึงจะคุ้มค่าการลงทุน
พี่ทีมงาน : ใช่เลย!
น้องใหม่อยากรู้ : แต่พี่ค่ะ...แฮะๆ...แค่ไหนล่ะถึงจะพอดี
พี่ทีมงาน : น้องชักจะถามลึกเกินไปรึเปล่านิ
น้องใหม่อยากรู้ : ก็แหม...คนมันอยากรู้นี่นา รู้ไว้...ใช่ว่า...ใส่บ่าแบกหามนิ อิ อิ
พี่ทีมงาน : จ้าๆๆๆ ยอมเค้าเลย เอาอย่างงี้แล้วกัน พี่พูดให้ฟังเป็นหลักการ เอาเฉพาะหลักการนะ ไม่เช่นนั้น เรื่องจะยาว เรื่องของการเลือกระยะห่างของ ลูกกลิ้ง ต้องนำปัจจัยหลายข้อมาพิจารณาร่วมกัน เช่น น้ำหนักของตัว สายพาน น้ำหนักของตัววัสดุที่บรรทุก ความสามารถรับน้ำหนักได้ของลูกกลิ้ง อายุการใช้งานของ ลูกกลิ้ง ความตึงของ สายพาน Belt Rating และยังมีรายละเอียดในแต่ละข้ออีกเยอะเลย
น้องใหม่อยากรู้ : พี่ยังไม่ตอบเลยนะ ว่าตกลงแล้วจะเลือกลูกกลิ้งห่างแค่ไหนถึงจะพอดี
พี่ทีมงาน : กัดไม่ปล่อยเลยนะ หึ หึ กะว่าจะใช้ลูกไม้ให้ลืม ยังไม่พ้นอีกนะ
น้องใหม่อยากรู้ : เอาแบบง่ายๆก็ได้ค่ะ
พี่ทีมงาน : สั้นที่สุด ก็ต้องลองไปเปิดหนังสือ CEMA ดู เขาจะแนะนำว่า การจัดวาง ลูกกลิ้ง แบบแอ่ง (Toughing Idler) ระยะห่างที่เหมาะสม จะพิจารณาจากความสัมพันธ์ของตัวแปรง่ายๆ 2 ตัว คือ หน้ากว้างของ สายพาน น้ำหนักของวัสดุที่ สายพาน บรรทุก เช่น ถ้าหน้ากว้างของ สายพาน คือ 48 นิ้ว น้ำหนักของวัสดุที่บรรทุกเป็น 100 ปอนด์/ลูกบาศก์ฟุต ระยะห่างของ Idler ด้าน Carry คือ 3.5 ฟุต และด้าน Return คือ 10 ฟุต เป็นต้น
น้องใหม่อยากรู้ : ขนาดอื่นๆล่ะค่ะ
พี่ทีมงาน : ไปเปิดเพิ่มเติมได้ครับ เล่นใช้พี่อย่างเดียวเลยนะ ทำเองด้วยจะได้เก่งๆ หากไม่เข้าใจค่อยมาถาม นะครับ
ตารางที่ 1 แสดงระยะ Pitch ของ Idler ที่เหมาะสม
upper = ระยะห่างของ Carry Idler
lower = ระยะห่าง Return Idler
น้องใหม่อยากรู้ : รับทราบครับผม แล้วพี่มีเพิ่มเติมอีกมั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : มีครับ เช่น ความยาวของ สายพาน ก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดอาการ ตกท้องช้าง นะครับ เพราะ ส่วนใหญ่ สายพาน ที่จะเกิดอาการ ตกท้องช้าง จะเป็น สายพาน Steel Cord ที่มีใช้กันในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เนื่องจาก สายพาน แต่ละเส้นจะมีความยาวหลายร้อยเมตรและมีน้ำหนักมาก ถ้าคำนวณระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งไม่ดีก็จะทำให้ สายพาน เกิดอาการ ตกท้องช้าง ได้ครับ เพราะน้ำหนักของตัว สายพาน นั่นเอง
น้องใหม่อยากรู้ : การเกิดกรณี สายพาน ตกท้องช้าง ส่วนใหญ่ เกิดกับ สายพาน Steel Cord แล้วเกิดกับ สายพาน Fabric หรือ สายพาน ผ้าใบมั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : เกิดครับ แต่เท่าทีมีประสบการณ์ผ่านมาจะไม่ค่อยได้เห็นกัน เพราะ Fabric Belt ส่วนใหญ่ใช้ ขนถ่าย ในอุตสาหกรรมเบาถึงปานกลาง ระยะทางไม่มาก และน้ำหนักไม่เยอะ แต่ถ้าจัดระยะห่างระหว่าง ลูกกลิ้ง ไม่เหมาะสมและออกแบบความตึงของ สายพาน ไม่ดีก็เกิดได้ทั้งนั้นแหละครับ
น้องใหม่อยากรู้ : แล้วลักษณะอาการ ตกท้องช้าง เป็นยังไงค่ะ
พี่ทีมงาน : ลักษณะของ สายพาน ที่เกิดอาการ ตกท้องช้าง จะมีลักษณะ หย่อนช่วงกลางระหว่างลูก รีเทิร์น เหมือน ท้องช้าง ครับ
น้องใหม่อยากรู้ : ช้างท้อง 3 เดือน กับช้างท้อง 8 เดือน ท้องมันจะหย่อนต่างกัน แล้วหย่อนแค่ไหนล่ะถึงยังรับได้ อิ อิ
พี่ทีมงาน : (หัวเราะ) อ๋อ...ลืมบอกไป จากประสบการณ์สามารถบอกได้ว่า หากการหย่อนมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ของระยะห่างระหว่าง ลูกกลิ้ง ล่ะก้อ วัสดุที่ขนมามันจะหล่นจากขอบของ สายพาน
น้องใหม่อยากรู้ : งั้นก็หมายความว่า เราจะยอมให้เกิดการหย่อนของ สายพาน ได้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ใช่มั๊ยค่ะ เพื่อไม่ให้วัสดุที่ขนมาหล่น
พี่ทีมงาน : เก่งมาก เป็นคำตอบสุดท้าย คร้าบบผม
น้องใหม่อยากรู้ : แล้ว สายพาน เกิดอาการ ตกท้องช้าง นี้มีผลเสียรึป่าวค่ะ
พี่ทีมงาน : มีครับ เยอะด้วย อันดับแรก คือ วัสดุที่บรรทุกมาล่วงหล่น เสียหายมาก นอกจากนี้ก็ยังทำให้ สายพาน เกิดการ Slip (การลื่นไหล) เวลาเดินระบบทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และถ้า สายพาน เกิดการ Slip เป็นเวลานาน อาจทำให้ไฟไหม้ สายพาน ได้ ทำให้จุดเชื่อมต่อคลายตัวการยึดเกาะได้ เพราะจุดอ่อนที่สุดของ สายพาน คือรอยเชื่อมต่อ (Splice) ทำให้อายุการใช้งานของ Return Idler และ Drive Unit สั้นลง เนื่องจากเกิดแรงกระแทกของ Sag ระหว่างที่เดินระบบอยู่ อายุการใช้งานของ Bearing Seal ต่างๆสั้นลง ปรับ Slide ยาก ขอบ สายพาน ฉีกขาดง่าย และยังมีความเสียหายอื่นๆที่จะตามมาอีกมากครับ
น้องใหม่อยากรู้ : เท่าที่ฟังดูผลเสียเยอะนะค่ะ ถ้าอย่างงั้น เราจะมีการป้องกันหรือแก้ไขอาการ สายพาน ตกท้องช้าง มั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : มีครับ และมีหลายวิธีเช่นกัน
น้องใหม่อยากรู้ : อ๋อ แบบว่าปัญหามาจากหลายสาเหตุ เพราะงั้นการแก้ปัญหาก็เลยมีหลายวิธีเช่นกันใช่มั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : ใช่แล้วล่ะครับ แต่ที่สำคัญเราต้องตรวจสอบหาสาเหตุให้พบซะก่อนนะครับ เมื่อพบแล้ว เราก็ต้องทำการปรับระบบ จากประสบการณ์เพื่อให้คนอื่นเข้าใจด้วย พี่จะขอแบ่งตามความยาวของ สายพาน จากระยะ Center – Center เพื่อปรับระบบดังนี้
1. สายพาน หน้าเรียบธรรมดาที่มีความยาวไม่เกิน 50 เมตร และพื้นที่ใช้งานเป็นพื้นระนาบไม่ลาดชัน จะปรับ Adjust ตัว SCREW TAKE UP ที่ Tail Pulley หรือ Pulley ตัวท้าย จนกว่า สายพาน จะตึง ถ้า ทำการ Adjust แล้ว สายพาน ยังมีอาการ ตกท้องช้าง อยู่ ให้ทำการเพิ่ม Return Idler ให้เป็นระยะห่างที่เท่าๆกันตลอดความยาวสายพาน เพราะ Return Idler จะเป็นตัวรองรับน้ำหนัก สายพาน ซึ่งการใส่ Return Idler นี้ต้นทุนจะสูง แต่หากการออกแบบโครงสร้างในตอนแรกถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและการใช้งานได้ทำตามที่ออกแบบไว้แล้วละก็ การแก้ปัญหาอาการตกท้องช้าง มักจะปรับ Adjust จนกว่า สายพาน จะตึง หากปรับจนเกลียวเร่งไม่สามารถปรับได้อีกแล้ววิธีสุดท้าย คือ ต้องตัดต่อ สายพาน ใหม่ครับ
2. สายพาน หน้าเรียบธรรมดาที่มีความยาวเกิน 50 เมตร และเป็นพื้นที่ลาดชัน จะใช้การปรับ Weight เพื่อให้ ตุ้มถ่วง ถ่วงน้ำหนัก สายพาน ซึ่งในกรณีนี้ สายพาน จะไม่มีอาการ ตกท้องช้าง ให้เห็นเพราะ ตุ้มถ่วง จะถ่วงน้ำหนัก สายพาน ให้ตึงตลอดเวลา แต่ ตุ้มถ่วง จะหย่อนลงเรื่อยๆ ซึ่งผู้ดูแลระบบต้องคอยเช็ค หาก ตุ้มถ่วง หย่อนลงและห่างจากจุดที่ล็อคน้อยกว่า 50 เซนติเมตร จะต้องทำการตัดต่อ สายพาน ใหม่ เพราะหากไม่ทำการตัดต่อ สายพาน ใหม่ ตุ้มถ่วง จะหย่อนถึงจุดที่ล็อคไว้ และอาการ ตกท้องช้าง จะมองเห็นชัดเจนครับ
น้องใหม่อยากรู้ : แล้วระยะที่ ตุ้มถ่วง อยู่ห่างจากจุดล็อคนี้ เราจะทราบได้ยังไงว่าเหมาะสมค่ะ
พี่ทีมงาน : ในทางปฏิบัติจะต้องอยู่ ณ ตำแหน่ง ½ ของระยะห่างจากโครงสร้าง สายพาน ด้านล่างถึงจุดที่ล็อคไว้ครับ เสริมนิดหนึ่งนะครับ ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาการ ตกท้องช้าง มักจะมีสาเหตุมาจากการออกแบบโครงสร้าง ระบบ สายพาน ลำเลียง ดังนั้น หากการออกแบบดีก็มักจะไม่มีอาการ ตกท้องช้าง หรือหากมีก็แก้ไขได้ง่าย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นน้อยมากครับ แต่หากการออกแบบไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรม อาการ ตกท้องช้าง ก็เกิดขึ้นได้ครับ
น้องใหม่อยากรู้ : สรุปแล้วว่า อาการ ตกท้องช้าง เกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาได้เช่นกัน ซึ่งพี่ๆสามารถช่วยได้ใช่มั๊ยค่ะ
พี่ทีมงาน : ใช่แล้วครับ และยังเต็มใจให้บริการอีกด้วย
น้องใหม่อยากรู้ : ค่ะ ขอบคุณพี่คเชนทร์ พี่วนัสนันท์ พี่ทวีปและทีมงานทุกคนมากนะค่ะที่มาให้ความรู้กับคอลัมน์น้องใหม่อยากรู้วันนี้ เชื่อแน่ว่า สิ่งที่พี่ให้ความรู้ในวันนี้จะสามารถนำไปเป็นความประโยชน์ได้อย่างแน่นอนค่ะ ขอบคุณพี่ๆทุกคนอีกครั้งค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณากรอก E-Mail เข้ามาได้เลยค่ะ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......