ถาม : ผมเคยไปดูงานที่ เหมืองแร่ ถ่านหิน ที่อำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผมเห็นว่ามีการใช้ทั้งรถบรรทุกและ ระบบ สายพาน ลำเลียง ในการขนส่งวัสดุไม่ทราบว่าการ ขนส่ง ทั้งสองระบบมันสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไรครับ?
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของเหมืองถ่านหิน
ตอบ : ตามที่ทราบกันดีแล้วว่า เหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองเปิด ดังนั้นการขุดหาถ่านหินก็จะขุดลึกลงไปเรื่อยๆ โดยเปิดหน้าดินออกเป็นชั้นๆ จนในที่สุดหลุมที่ขุดก็จะเป็นรูปแอ่งกระทะที่ลึกมาก ดังนั้นการ ขนส่ง ถ่านหิน ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องใช้ ระบบ สายพาน ลำเลียง เนื่องจากเราสามารถออกแบบระบบเส้นทางของ สายพาน ลำเลียง ให้พาดตัวขึ้นไปตามความลาดของหลุม เหมืองได้ ด้วยคุณสมบัติของ สายพาน ลำเลียง เองที่สามารถ ขนส่งวัสดุ ได้อย่างปลอดภัยบนความลาดได้ 0-30 องศา( แล้วแต่ชนิดของวัสดุที่ขน) การวาง Line สายพาน ตามแนวเอียงลาด อย่างนี้มีความได้เปรียบการขนส่งรูปแบบอื่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถวางระยะทางของการขนส่งที่สั้นที่สุดได้เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่น ( เช่น รถบรรทุก ) และยังสามารถวาง Lineไปตาม ความลาดชันให้สอดคล้องกับลักษณะของแอ่งเหมืองที่ขึ้นๆลงๆ ซึ่งมีความลาดเอียง ตั้งแต่ 30 -35 %ขณะที่หากใช้รถบรรทุกจะต้องตัดถนนให้มีความลาดชันอยู่ในช่วงระหว่าง 6 -8 % เท่านั้นรถที่ใช้บรรทุกจึงจะสามารถวิ่งได้
รูปที่ 2 แสดงการใช้รถบรรทุกขนวัสดุมายัง ระบบ ลำเลียง วัสดุ
รูปที่ 3 แสดงการเคลื่อนย้ายถ่านหินด้วยรถบรรทุกและ ระบบ สายพาน ลำเลียง
นอกจากนี้แล้ว ระบบ สายพาน ยังสามารถเพิ่ม จุดขนถ่าย (Loading point) ที่จะ สามารถรับวัสดุที่บรรทุกมาโดยรถบรรทุกในตำแหน่ง (location) ต่างๆได้ตลอดแนว สายพาน ถ้าสังเกตดูให้ดีเราจะเห็นการขุดเหมืองแร่ เป็นรูปขั้นบันไดซึ่งบริเวณบันไดแต่ละขั้นก็จะสามารถกำหนดให้เป็นจุดรับวัสดุได้พร้อมๆกันหลายจุด ซึ่งรถบรรทุกก็จะนำวัสดุมาส่ง (discharge) ณ จุด รับนี้ นี่คือเหตุผลที่คุณเห็นทั้งรถบรรทุกและ ระบบ สายพาน ลำเลียง ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดีในเหมืองนั่นเอง
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”