เมื่อเห็นหัวข้อนี้ก็คงพอทราบกันแล้วนะค่ะ ว่าวันนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องอะไร
-----------------------------------------------------------------------------------------
ถาม : เห็นคำตอบของ TCB ในคำถามเรื่อง Belt Cleaner กับ พลังงาน ที่เพิ่มขึ้น การติดตั้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ดีนั้นต้องให้ระยะห่างระหว่างผิว สายพาน กับ ใบปาด ห่างกันด้วยระยะที่พอเหมาะเพื่อให้ความแรงกด (Pressure) ระหว่างผิว สายพาน และอุปกรณ์ทำความสะอาดให้มีความเหมาะสมพอดี จึงจะเกิดประสิทธิภาพของการทำความสะอาดสูงสุด ผมก็เลยอยากทราบว่า “ความพอดี” มันจะบอกเป็นตัวเลขได้บ้างหรือเปล่าครับ?
ตอบ : คำถามของคุณตรงใจเรามากเลยครับ โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขนี่ก็เลยต้องขอนอก เรื่องสักหน่อย พวกเราคงคุ้นเคยกับคำถามและคำตอบมาตรฐาน ของใครหลายๆคนที่ไม่ว่าจะ ถามอะไรเกี่ยวกับปริมาณที่เน้นตัวเลขก็จะพบคำตอบที่เหมือนไม่ตอบ ประมาณว่า “ดีขึ้นระดับหนึ่งแล้ว” “เหมาะสมระดับหนึ่งแล้ว” คำว่า “ระดับหนึ่ง” ฟังดูดีและรื่นหูพอให้เคลิ้มแล้วผ่าน และ ไม่สนใจเรื่องนั้นต่อไป แต่ถ้าจะมาพิจารณาให้ดีแล้วก็จะทราบว่า “ระดับหนึ่ง” มันไม่ได้บอกอะไร เพราะมันไม่สามารถวัดค่าใน เชิงปริมาณ (Quantity) ได้ จะนำไปวิเคราะห์หรือนำไปอ้างอิงเพื่อ ทำประโยชน์อย่างอื่นก็จะทำไม่ได้ ผมจึงอยากจะให้สังคมของเราพูดอะไรต้องสามารถนำไปเป็น ประโยชน์ต่อได้ พูดให้มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เอาให้ เคลียร์ๆไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูด ที่มีตัวเลขกำกับแทนการพูดว่า “ระดับหนึ่ง” จะเป็นประโยชน์มาก เพราะเมื่อมีตัวเลขเราก็จะ สามารถ วัด (Measure) ได้ เมื่อวัดได้เราก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ เมื่อเปรียบเทียบได้เราก็จะ สามารถประเมินเรื่องต่างๆ ได้ว่ามันดีหรือมันเลวกว่าผลที่เราต้องการ ให้เป็นมากหรือน้อยอย่างไร เมื่อเราประเมิน ได้แล้วก็จะสามารถกำหนดแผนการทำงานกำหนดยุทธศาสตร์ หรือ ออก มาตรการต่างๆในการปรับปรุง หากว่ามันอยู่ในระดับต่ำกว่าเราต้องการ เอาล่ะครับเรามาช่วยกัน รณรงค์หยุดพูดคำว่า“ระดับหนึ่ง” ได้แล้วหรือยัง ?
คราวนี้มาเข้าเรื่องที่คุณถามมาว่าไอ้คำว่า “เหมาะสมพอดี” นั้นจะพูดใน เชิงปริมาณ ได้อย่างไรผมก็เลยต้องขอยกงานวิจัย ของ U.S Bureau of Mines ซึ่งเขาได้ทำการวิจัยว่า แรงกด(Pressure) ระหว่างผิว สายพาน กับ Secondary Cleaner แบบ Scraper ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดที่สุด คือ อยู่ใน ระหว่าง 11-14 psi ซึ่งค่าๆนี้ เป็นค่าที่ดีที่สุด ที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพ การทำความสะอาดที่ยอดเยี่ยม แล้วยังช่วยรักษาใบปาดให้มีอายุ การ ใช้งานที่ยาวนานและทำให้ตัว สายพาน เองมีอายุการใช้งานยืนยาวด้วยครับ
ถาม : คุณ TCB พูดเฉพาะ Secondary Cleaner แล้วหากเป็น Pre Cleaner ล่ะครับมันควรจะเป็นความดันที่เหมาะสมอยู่ที่เท่าไหร่ครับ
ตอบ : ขอสารภาพตามตรงว่า“ไม่รู้” จริงๆครับต้องขอเวลาไปค้นคว้าเพิ่มเติมก่อนถ้า ทราบแล้วจะรีบมารายงานทันทีครับ

รูปที่ 1 แสดงลักษณะของใบปาดที่กดลงบน สายพาน

รูปที่ 2 แสดงลักษณะการขูดวัสดุจากผิวสายพานเมื่อใช้แรงกดที่เหมาะสม
ถาม : ถ้าอย่างนั้นบอกแนวทางคร่าวๆ ก็ได้ครับ
ตอบ : ปกติแล้วเพื่อให้ได้ ความดัน (Pressure) ระหว่าง ใบปาด และผิวสายพาน จะมีอุปกรณ์ปรับเพื่อให้เกิดความตึง(Tension) ให้คงที่ที่พอเหมาะซึ่งอุปกรณ์ปรับความตึงตัวที่มา พร้อมกับอุปกรณ์ทำความสะอาดนี้ ก็มีหลากหลายชนิดบางแบบก็มีความสลับซับซ้อน พอสมควร ผู้ผลิตแต่ละรายก็จะจดเป็น ลิขสิทธิ์ของตนเอง ( เช่น MATO ที่ TCB เป็นตัวแทนจำหน่ายก็มี ลิขสิทธิ์ส่วนนี้ด้วย) อุปกรณ์ปรับความตึงด้วยกัน มีหลายแบบเช่น Locking Collar แบบ Concrete block Counter Weight , Air-Spring ซึ่ง ผู้ ใช้งานสามารถเลือกรูปแบบ(Model) ได้ตาม Specification ที่ผู้จำหน่ายให้มาหรือเลือกตามความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งานและสภาพแวดล้อมของตัวเองได้

รูปที่ 3 แสดงลักษณะของอุปกรณ์ปรับความตึงแบบปกติ (Screw Tension)

รูปที่ 4 แสดงลักษณะของอุปกรณ์ปรับความตึงอัตโนมัติ (Air/Water Tension)
ถึงตอนนี้คุณคงพอจะทราบแล้วนะครับ ว่าผู้ผลิตแต่ละรายเขาจะทำการวิจัย และ สร้างผลิตภัณฑ์ของเขาให้มีความทันสมัย เพื่อให้อุปกรณ์เหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว สิ่งที่คุณควร ทำคือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงในด้านการผลิตและที่สำคัญ คือ ควรมีทีมบริการ อำนวยความสะดวก ให้คุณในยามที่ต้องการด้วย TCB ยินดีเสนอ อุปกรณ์ปรับความตึงของ MATO ซึ่งมีความชำนาญและเชี่ยวชาญด้าน อุปกรณ์ทำความสะอาด จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกมานานปีแล้วครับ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”