รูปที่ 1 แสดงลักษณะการหลุดร่อนของสายพาน
1) Excessive Belt Tension แรงดึงใน สายพาน มากเกินกว่าที่คำนวณไว้หรือมากกว่าความสามารถของ สายพาน เส้นนั้นจะรับได้ วิธีแก้อาจทำได้โดยให้ปรับความตึงให้เหมาะสมโดยปรับ ตุ้มถ่วง ( Counterweight ) หรือเพิ่มความเร็วของ สายพาน จะช่วยลดแรงดึงใน สายพาน ได้
2) Pulley Diameter Too Small เส้นผ่านศูนย์กลาง Pulley เล็กเกินไปทำให้เกิด Overstress ในชั้นรับแรงของ สายพาน ให้ตรวจสอบขนาด Pulley ที่เล็กที่สุด ที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้ และให้ ต่อหัว สายพาน แบบเฉียง 45 องศา และเพิ่ม Splicing length เพื่อลดความเครียด ( Stress ) ในชั้น ผ้าใบรับแรง (Carcass ) ไม่ให้เกินขีดที่จะรับได้
3) Improper Vulcanizing Process ช่างต่อ สายพาน ขาดความชำนาญ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน เครื่องต่อไม่ได้มาตรฐาน ควบคุมอุณหภูมิและความดันไม่ถูกต้องและต้องแน่ใจว่าวัสดุที่ใช้ ( กาว,ยาง,วัสดุประสาน ) ยังไม่เสื่อมคุณภาพ และถูกต้องตามประเภทของการใช้งานของ สายพาน เช่น ทนร้อน ทนแรงดึงสูง
4) Material Buildup วัสดุติดตาม pulley และลูกกลิ้ง ทำให้เกิดแรงเสียดทานในระบบมากขึ้น สายพาน ก็จะเกิดแรงดึงสูงขึ้น สายพาน วิ่งไม่ตรง ให้ขัดล้างวัสดุเหล่านั้นออก หุ้มยาง Pulley ( 40-50 Durometer) จะช่วยลดวัสดุที่ติด Pulley ได้
5) Excessive Impact เกิดแรงกระแทกมากเกินไปใน สายพาน ทำให้ สายพาน สึกกร่อน ฉีกขาด ควรติดตั้ง ลูกกลิ้ง เพื่อลดแรงกระแทก ณ.ตำแหน่งที่รับวัสดุ และปรับมุมของ Chute ให้เหมาะสม ให้วัสดุก้อนเล็กตกก่อนก้อนใหญ่ จะลดแรงกระแทกได้
6) Wrong Belt Selection ตรวจสอบดูว่า สายพาน ที่ใช้มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาวะการใช้งานหรือไม่ เช่น ทนร้อน ทนน้ำมัน ทนสึกหรอ และสารเคมี อื่นๆ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”