วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับ สายพาน ลำเลียง แบบล้วนๆกันเลยทีเดียว ขอเริ่มต้นกันด้วยวิธีการเลือกใช้ สายพาน อย่างถูกต้องก่อนก็แล้วกันนะครับ สำหรับการเลือกใช้ สายพาน ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับงานนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยาก แค่เราจะพิจารณาสักนิดก่อนว่าเอา สายพาน ไปใช้ในงานอะไร แล้วค่อยเลือกชนิด สายพาน ตามความเหมาะสม เพราะสายพาน ลำเลียง จะมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน
จริงๆภายในตัว สายพาน ลำเลียง นั้นยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆซ่อนอยู่ภายในอีกดังนี้
ส่วนประกอบของ สายพาน ลำเลียง (Rubber Belt)
1. ยาง ผิวบน (Top Cover) มีหน้าที่รองรับ วัสดุ ขนถ่าย และป้องกันการเสียหายของ ชั้นผ้าใบรับแรง และยังมีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน ผิวบางบนมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน
2. ชั้นผ้าใบรับแรง (Carcass) มีหน้าที่เป็นแกนรับแรงดึงของ สายพาน ทั้งเส้น และช่วยกระจายแรงดึงของ สายพาน เมื่อทำการ ลำเลียง วัสดุอีกด้วย
3. ชั้นยางประสานผ้าใบ (Skim rubber) มีหน้าที่ประสานชั้นผ้าใบแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
4. ยาง ผิวล่าง (Bottom Cover) มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบรับแรงไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับ ลูกกลิ้ง (Idler) และ พูลเลย์ ดังนั้นความหนาของยางผิวล่างจึงไม่จำเป็นต้องหนาเท่ากับยางผิวบน เพราะไม่ได้รับภาระหนักเหมือนยางผิวบน
การเลือกใช้ สายพาน ... กว้างแค่ไหนถึงจะเหมาะสม
ในการเลือก สายพาน ลำเลียง ที่มีความเหมาะสม จะต้องมีความกว้างมากพอต่อการขนวัสดุ ในปริมาณที่ต้องการของผู้ใช้งานได้ โดยวัสดุจะต้องไม่อยู่ชิดขอบของ สายพาน มากเกินไป ดังนั้นขนาด ความกว้าง ของ สายพาน จะต้อง ลำเลียง วัสดุ ได้อย่างไม่แออัด จนเกินไป การเลือกขนาด ความกว้าง ของ สายพาน ลำเลียง ที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
- ชนิดของวัสดุที่ ลำเลียง + คุณสมบัติของวัสดุ
- ขนาดก้อนโตของวัสดุ ( Lump Size )
- ความเร็ว สายพาน (Belt Speed)ที่ใช้งาน (m/min , m/sec)
- อัตราการ ขนถ่าย ลำเลียง (cu.ft / hr )
ข้อมูลในตารางที่ 1 จะเป็นการแบ่งกลุ่มวัสดุและความเร็ว สายพาน สูงสุดสำหรับการขนลำเลียง วัสดุชนิดนั้นๆและความกว้างที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ความเร็วนั้นๆ
ดังนั้นเมื่อเราทราบแล้วว่าจะขนวัสดุประเภทไหนแล้ว ให้ดูจากกลุ่มวัสดุจากตาราง ก็จะสามารถเลือกใช้ความกว้าง สายพาน ที่เหมาะสม และความเร็วที่การ ลำเลียง ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ตารางที่ 1 ตารางการเลือกความใช้ความเร็ว สายพาน และความกว้าง สายพาน ที่เหมาะสม
วัสดุที่ใช้
|
ความเร็วของสายพาน (ft/min)
|
ความกว้างของสายพาน (inch)
|
เมล็ดพืช , วัสดุที่ไหลได้ดี , ไม่มีการกัดกร่อน
|
500
700
800
1000
|
18
24 – 30
36 – 44
48 - 96
|
ถ่านหิน , ดินเหนียว , สินแร่ที่มีความอ่อนตัว , ดิน ,
หินบดละเอียด
|
400
600
800
1000
|
18
24 – 36
42 – 60
72 - 96
|
วัสดุหนัก , มีความแข็งคม , แร่ที่มีเหลี่ยมมุม , หินแตก , วัสดุมีผิวหยาบ
|
350
500
600
|
18
24 – 36
< 36
|
ทรายหล่อละเอียด , ทรายที่มีความชื้น , วัสดุที่มีความร้อนต่ำจนไม่ทำให้สายพานเสียหาย
|
350
|
Any width
|
ทรายหล่อละเอียด , มีความชื้นและเกิดการกัดกร่อนเมื่อแห้ง
|
200
|
Any width
|
วัสดุที่ไม่เกิดการกัดกร่อน , วัสดุที่จ่ายออกมาจากสายพานโดยทำให้เกิดความสกปรกต่อใบกวาด
|
200
|
Any width
|
สายพาน Feeder , สำหรับป้อนวัสดุที่มีความละเอียด , ไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน หรือ กัดกร่อนน้อย
|
50 - 100
|
Any width
|
หมายเหตุ : **สำหรับการใช้งานในประเทศไทยให้ใช้ ความเร็ว สายพาน x 0.8 จะได้ความเร็วสูงสุดที่ใช้งานได้จริง
หวังว่าคงจะได้ความรู้กันนะครับ และโปรดติดตาม สายพาน น่ารู้ ตอนต่อไปได้นะครับ หรือ หากมีกิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับ สายพาน ลำเลียง สายพาน ไทย ยินดีบริการท่านเสมอครับ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”