วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่อง การลาก-ดึง สายพาน ครับ คำว่าลาก – ดึงหมายถึงกิจกรรมหนึ่ง ของการเคลื่อนย้าย สายพาน ลำเลียง ด้วยการดึงออกจาก Line หรือ จะดึงเข้า Line ก็แล้วแต่
ซึ่งในการลากดึงจะมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการดึงเข้าออกเช่น รอกไฟฟ้า เครน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของ สายพาน ลำเลียง และสภาพพื้นที่ที่ติดตั้งระบบ สายพาน ดังนั้นก่อนทำการลากดึงจะต้องทำการสำรวจสภาพพื้นที่ติดตั้งก่อน เพื่อจะได้เตรียมการเรื่องเครื่องมือ อุปกรณ์ แต่เนิ่นๆ
ส่วนในการม้วนเก็บจะใช้ เครื่องม้วน สายพาน ที่เป็นไฮดรอลิกส์ปั๊ม และ รีล (Reel) ในการม้วน สายพาน ให้เป็นม้วนกลมๆเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
โดยเราจะขอยกตัวอย่างกรณี ลาก-ดึง สายพาน เส้นเก่าออก Line สายพาน เดิม โดยจะมีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 ใช้เครื่องมือตัด แกน สายพาน เส้นเก่าออก
ในขั้นตอนนี้เริ่มแรกต้องทำการเลาะ ยาง ผิว สายพาน ด้านบน (Belt Cover) ออกก่อน เพราะผิวด้านบนของ สายพาน จะมีคุณสมบัติพิเศษเช่น ทนการเจาะทะลุ ทนการขีดข่วน เป็นต้น ในการเลาะเนื้อ สายพาน ให้เลาะเป็นแนวยาว ความกว้างประมาณ 2 นิ้ว แล้วเปิดผิว สายพานออกให้ถึงแกน สายพาน แล้วจึงใช้เครื่องมือตัดตัดแกน สายพาน ให้ขาดออกจากกัน
รูปที่ 1 – 3 แสดงการเลาะผิวยางชั้นบน และการตัด สายพาน
- ขั้นตอนที่ 2 ติดแผ่นเหล็กเอาไว้ที่ปลาย สายพาน ใช้สำหรับผ่อนแรงกระชากของสายพาน ขณะลากดึง
รูปที่ 4 แสดงการติดตั้งแผ่นเพลทไว้ที่ปลาย สายพาน
- ขั้นตอนที่ 3 ติดลวดสลิงที่ปลายอีกด้านของ สายพาน
ในขั้นตอนนี้จะใช้ปลาย สายพาน อีกด้านหนึ่งที่ไม่ได้ติดแผ่นเพลท มายึดกับลวดสลิงไว้ โดยให้ปลายอีกด้วนหนึ่งของสลิงจะมัดไว้ที่รีล สายพาน
รูปที่ 5 แสดงการยึดปลาย สายพาน ด้วยสลิงเพื่อเตรียมการดึงเข้าม้วน
- ขั้นตอนที่ 4 ดึงเข้าเครื่องม้วน สายพาน (Reel) โดยต้องประคอง สายพาน ไว้กันสายพาน ม้วนเข้าไม่ตรงแนว center
รูปที่ 6 – 7 แสดงการดึง สายพาน เข้าเข้า Reel ด้วย เครื่องม้วน สายพาน
- ขั้นตอนที่ 5 ค่อยๆผ่อนลวดสลิงให้ สายพาน ค่อยๆไหลไปทีละช่วงสั้นๆ
รูปที่ 8 แสดงการผ่อนแรงการไหลของ สายพาน ด้วยลวดสลิง
- ขั้นตอนที่ 6 ใช้บาร์ยึด สายพาน กับโครงสร้างไว้
ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้เหล็กบาร์ หนีบ สายพาน แล้วล็อคกับโครงสร้างของ ระบบ สายพานไว้เพื่อป้องกัน สายพาน ไหลลงมาทีเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ โดยเฉพาะ Line สายพาน ที่มีความลาดเอียงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะ สายพาน จะไหลลงมาด้วยความเร็วสูง บวกกับน้ำหนักต่อความยาวของ สายพาน เองจะทำให้ สายพาน ไหลลงมาฟาดกับพูลเลย์อย่างรุนแรง
รูปที่ 9 แสดงการยึดสายพานด้วยบาร์
สายพาน ในรูปเป็น สายพาน แกนลวด (Steel Cord) หน้ากว้าง 1.40 เมตร ความยาว 440 เมตร น้ำหนักทั้งเส้น12 ตัน (27.3 kg/m.)ลองคิดดูสิว่าถ้ามันเกิดไหลลงมาทีเดียวจะเกิดอะไรขึ้น !!?
- ขั้นตอนที่ 7 เอาแผ่นเพลทออกจาก สายพาน
ก่อนจะม้วนเก็บปลาย สายพาน เข้าม้วน Roll ต้องเอาแผ่นเพลทออกก่อน ปกติแล้วที่แผ่นเพลทจะถูกยึดไว้ด้วยสลักเกลียวเพื่อให้ง่ายต่อการถอดออก แต่เนื่องจากระหว่างการลากดึงทำให้แผ่นเพลทถูกกระแทกทำให้สลักเกลียวเสียรูปร่าง ก็เลยต้องใช้เครื่องมือตัดสลักเกลียวออกอย่างที่เห็นในรูป
รูปที่ 10 -11 แสดงการปลดแผ่นเพลทอกจากสายพาน
เป็นไงบ้างครับ กับขั้นตอนการ ลาก-ดึง-ม้วนเก็บ สายพาน นี่จะเป็นแค่ขั้นตอนแรกๆของการทำงาน เท่านั้นแต่ก็ใช้เวลามากทีเดียวอาจจะครึ่งวัน หรือ 1 วันเต็มๆเลยทีเดียว ซึ่งเราจะต้องมาทำการต่อหัว สายพาน ให้ติดเป็นเส้นเดียวกันอีกที ในคราวหน้าเราจะมาว่ากันด้วยเรื่องการต่อสายพาน กันครับ
หากท่านมีกิจกรรมการ ลาก-ดึง ม้วนเก็บ สายพาน ลำเลียง ควรใช้ช่างผู้ชำนาญงาน เพื่อความปลอดภัย และรวดเร็ว และที่สำคัญ Thai Conveyor Belt เรามีช่างผู้ชำนาญงานด้านสายพาน ลำเลียง ไว้บริการท่านเสมอครับ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......