วันนี้ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 AV อยากจะนำเสนอแฟนคลับชาวสายพานเรื่องสายพานทนร้อนเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อย ใครที่ติดตามอ่าน web นี้ ก็คงพอมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเลือกสายพานทนร้อนกันอยู่บ้าง แต่ถ้าใครเพิ่งมาเปิด web นี้ แล้วเจาะจงได้อ่านบทความนี้เป็นครั้งแรกก็อาจจะงง ๆ กันหน่อย ดังนั้น เพื่อให้แต่ละบทความของ AV อ่านตรงไหน ช่วงไหน ก็สามารถเก็บสาระสำคัญ โดยไม่ต้องพลิกไปอ่านบทความเรื่องเก่า ๆ AV จึงจะขอทบทวนประเด็นสำคัญ ๆ สำหรับท่านที่ต้องใช้สายพานทนความร้อนต้องทราบ สัก 3-4 ข้อพอเป็นพื้นฐานกันเสียก่อน
ข้อ 1 เราจะพิจารณาใช้สายพานทนความร้อนเมื่ออุณหภูมิ ของสายพานมีค่ามากกว่า 60องศา อย่างต่อเนื่อง
ข้อ 2 เมื่อเราเลือกสายพานทนความร้อนได้ 150 °c เราจะหมายถึง ตัวสายพานสามารถทนความร้อนได้อย่างต่อเนื่องถึง 150 องศา ขณะที่อุณหภูมิของวัสดุที่บรรทุก
ภาพการลำเลียงที่ต้องใช้สายพานทนความร้อน
อาจจะมีค่าสูงถึง 200°c หรือ 280°c โดยที่ยังสามารถใช้สายพานโดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดก็ได้
ข้อที่ 3 เวลาที่ท่านสั่งสายพานทนร้อนทุกครั้งท่านต้องระบุอุณหภูมิที่ท่านต้องการให้ชัดเจนด้วย ปรกติแล้วผู้ผลิตจะแบ่งช่วงของการผลิตสายพานทนความร้อน ออกเป็นช่วงๆ ดังนี้
ช่วงอุณหภูมิน้อย-ปานกลาง (สีเหลือง) 60°c -110°c
ช่วงอุณหภูมิปานกลาง-สูง (สีน้ำตาล) 110°c-150°c
ช่วงอุณหภูมิสูง (สีม่วง) 150°c > ขึ้นไป
เพื่อให้เห็นภาพง่ายยิ่งขึ้นก็ขอให้ท่านดู Chart ประกอบข้างล่างนี้ ด้วย (อ้างอิง:Bridgestone) ไม่ต้องไป งงกับตัวย่อหรือสัญลักษณ์ที่ไม่คุ้นเคย เอาแค่สาระที่ต้องการก็พอนะคะ
บางท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า อุณหภูมิของวัสดุที่บรรทุกมีค่าประมาณเท่าไหร่ก็ขอให้ดูตารางตรงช่อง Main Transport Materials ก็พอจะได้ guide line พอเลือกค่าที่เหมาะสมได้ ดีกว่าเดานะคะ
ข้อ 4 การเลือกผิวสายพานที่ทนความร้อน นั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน เช่น อุณหภูมิของวัสดุ ขนาดของวัสดุ
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยระบายความร้อนให้วัสดุที่บรรทุก ลองดูตารางข้างบนเพื่อประกอบความเข้าใจหน่อยดีมั้ยค่ะ
*โจทย์; ถ้าหากต้องบรรทุกสินแร่ (ORE) ที่มีขนาดเฉลี่ย 50 มม. อุณหภูมิของสินแร่ 250°cจะเลือกสายพานทนความร้อนที่กี่องศาดี?!?
1.ให้ลากเส้นเริ่มจากอุณหภูมิของวัสดุ คือ 250°c ไปตัดกับเส้นแทยงมุม (เส้นกลาง) ที่ระบุว่าขนาดของวัสดุอยู่ระหว่าง 31-100 มม. (จากโจทย์คือ 50 มม.)
วิธีการเลือก: จาก Chart
2.จากจุดตัดลากเส้นตรงมาทางด้านขวามือให้แตะตรงเส้น Belt Temrperture จะพบว่าได้อุณหภูมิของผิวสายพานประมาณ 140°c
ดังนั้นคำตอบ เราจึงเลือก "สายพานทนความร้อนขนาด 140°c" ซึ่งอยู่ในช่วงความร้อนปานกลางถึงความร้อนสูง
AV มีข้อสังเกตเพิ่มเติมนิดหน่อย คือว่า เมื่อขนาดของวัสดุโตขึ้น ขณะที่วัสดุมีความร้อนเท่ากัน วัสดุที่มีขนาดโตกว่า ย่อมมีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดีกว่าวัสดุที่มีขนาดเล็ก ดังนั้น หากวัสดุลำเลียงมีขนาดใหญ่แล้วใช้ Chart นี้ประมาณการ ท่านอาจจะเลือกใช้สายพานที่ทนความร้อนในระดับองศาที่ต่ำลงได้ นั่นหมายความว่า ท่านสามารถประหยัดเงินลงได้เช่นกันนะคะ ในทางกลับกันหากวัสดุมีขนาดเล็ก ท่านก็ต้องจ่ายเงินแพงขึ้นนะค่ะ
ก่อนจบ AV ก็อยากจะขอทบทวนให้ท่านทราบนิดหน่อยกันลืมว่า นอกจาก ข้อพิจารณาทั้ง 4 ข้างต้นที่ท่านจำเป็นต้องรู้แล้ว อย่าลืมว่า ท่านต้องระบุความแข็งแรงของสายพาน (tensile strength) และเกรดของสายพานในการสั่งซื้อด้วยนะค่ะ ท่านถึงจะได้สายพานที่ถูกต้อง ครบถ้วนตาม Spec ที่ท่านต้องการจริง ๆ AV หมดเรื่องที่จะคุยต่อแล้วค่ะ หากแฟนคลับคิดว่ายังมีอะไรที่หลงหู หลงตา ที่ AV ยังตกหล่นอยู่ก็ลอง E-mail มาคุยกันได้นะคะ บ๊าย-Bye...สวัสดีค่ะ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......