วันที่ 28 ตุลาคม 2552 ขณะนี้บ้างเมืองเรากำลังฮิตสร้างโรงฟ้าฟ้าที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เหตุที่ฮิตเพราะว่าผลิตเท่าไหร่ กฟฝ. และ กฟภ. ก็รับซื้อหมด (ขายดีจริงๆ) ดังนั้นบริษัทฯ ต่างๆจึงลงทุนผลิตไฟฟ้าขายกันใหญ่ เพราะได้ราคาที่แน่นอนไม่มีปัจจัยอื่นๆมามีผลกระทบกับเรื่องราคา ส่วนบริษัทสายพานไทยก็มีส่วนเล็กๆเกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดหาผลิตภัณฑ์ เช่นลูกกลิ้งและสายพานลำเลียงที่เหมาะกับชนิดของชีวมวลที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลไม่ว่าชีวมวลเหล่านั้นจะเป็นวัสดุเหลือใช้ในทางการเกษตรเช่น แกลบ, ชานอ้อย, เศษไม้, กากปาล์ม, กากมันสำปะหลัง, ข้าวโพด, กากและกะลามะพร้าว หรือวัสดุจากผลิตผลการเกษตร อื่นๆ
มีลูกค้าของสายพานไทยที่เป็นบริษัทฯ ผู้รับเหมาหลายรายที่รับเหมาสร้างระบบขนส่งลำเลียงเชื้อเพลิงด้วยสายพานให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายที่ซื้อลูกกลิ้ง HDPE และสายพานประเภทที่ทนน้ำมันไปใช้เช่นมีโรงไฟฟ้าชีวมวล แห่งหนึ่งที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ใช้เศษไม้สับเป็นเชื้อเพลิง สั่งซื้อลูกกลิ้ง HDPE และสายพานประเภททนน้ำมันไปใช้แล้วติดใจ...ก็อยากจะซื้ออีก แต่คราวนี้จะเอาไปขนเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นปาล์มและกากปาล์ม ซึ่งทางผู้ออกแบบสายพานลำเลียง ได้ขอคำแนะนำกับสายพานไทยว่า เมื่อตอนที่เลือกสายพาน (จำนวนชั้นของสายพาน) ที่ใช้ลำเลียงไม้สับมันก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะขนาดของวัสดุมีขนาดเล็ก และ Size ก็สม่ำเสมอ แต่พอเป็นทลายปาล์ม (ใหญ่-น้ำหนักมาก) ก็ชักลังเลแล้วว่าจะเลือกสายพานให้เหมาะสมได้อย่างไร!?! ครั้งจะเลือกเหมือนเดิมก็น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะไม้สับนั้นมีน้ำหนักเบา และเวลา Discharge ก็มี load ตกกระแทกสายพานไม่มากนัก... แต่ทลายปาล์มหนักมาก...... ทำยังไงดี?!?
ก่อนที่จะรับใช้ท่านผู้ออกแบบที่ตามที่ขอมา....สายพานไทยก็ใคร่ขอชี้แจง...แจ้งแถลงข่าว...แบบภาพรวมๆ ให้ข้อมูลที่น่ารู้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อแฟนคลับท่านอื่นๆ ที่ติดตามอ่านบทความนี้ไปด้วย อย่างเช่นโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ใช้ลูกกลิ้งแบบ HDPE ก็เพราะว่าอยู่ใกล้กับชายทะเลเรียกว่า มีสิ่งแวดล้อมอบอวนไปด้วยไอทะเลที่มีไอเกลือที่สามารถ ทำให้ลูกกลิ้งเหล็กเป็นสนิมและเสียหายได้ง่าย ภายในระยะเวลาแค่ 6 เดือนก็จะเห็นสภาพของสนิมเกิดขึ้น ดังนั้นการใช้ลูกกลิ้ง HDPE แทนลูกกลิ้งเหล็ก จึงเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะโครงสร้างของเคมีของผิวลูกกลิ้ง HDPE นี้สามารถทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายได้ดี ... คิดกันง่ายๆว่า...ตรงไหนที่ลูกกลิ้งเหล็กกลัว---ลูกกลิ้ง HDPE ไม่กลัว---เช่นในสภาวะความเป็นกรด-ด่าง การกัดกร่อนความชื้น-แฉะ-หรือแม้แต่การขนถ่ายหินก็ใช้ลูกกลิ้ง HDPE ได้เหมาะเจาะเพราะ HDPE จะไม่เกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้และเป็นสาเหตุของการระเบิดได้อีกด้วย นอกจากนี้ ผิวของ HDPE ยังลื่นทำให้วัสดุไม่เกาะลูกกลิ้งอีกด้วยทั้งเบา...หมุนเงียบ...ทั้งประหยัดพลังงาน ...
ส่วนในเรื่องของสายพานเราขอแนะนำให้ใช้สายพานแบบทนน้ำมัน ซึ่งปกติแล้วผิวของสายพานประเภททนน้ำมัน จะทนน้ำมันทำด้วย Polymer ที่มีส่วนผสมของ NBR ซึ่งเป็นสารที่ทนทานต่อน้ำมันที่เกิดจากแร่หรือสารที่มีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติเช่น น้ำมันที่มีฐานกำเนิดในพืชหรือสัตว์ (เช่น ปิโตรเลียม-น้ำมันเครื่อง-น้ำมันปลา น้ำมันปาล์ม – น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ)
หากใช้สายพานเกรดทนสึกหรอธรรมดา ผิวสายพานจะบวมและยุบเมื่อสัมผัสกับน้ำมันดังกล่าว และก็จะเสียหายอย่างรวดเร็ว อย่างที่รู้ๆกันสายพานเป็นสิ่งที่เสียหายได้ง่ายที่สุดในระบบลำเลียง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนที่มีราคาที่มีสัดส่วนสูงทีเดียว (10-15%) ของระบบลำเลียงทั้งหมด ดังนั้นการเลือกสายพานผิด...ก็ต้องคิดจนสายพานเสียหาย...แล้วเราก็วอดวาย... ก่อนซื้อสายพานครั้งใดแฟนคลับ ก็อย่าลืมปรึกษาสายพานไทยก่อนก็แล้วกัน
เอาหล่ะคราวนี้ก็เข้าเรื่องวิชาการที่ท่านผู้ออกแบบสอบถาม
ปุจฉา : สอบถามมาก็คือ ท่านจะเลือกสายพานมีชั้นผ้าใบกี่ชั้นดีถ้าท่านจะลำเลียงทลายปาล์ม (หนักมาก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอน load วัสดุ(ทลายปาล์ม)บนสายพานท่านกลัวสายพานพังก่อนได้ใช้งาน
วิสัชนา : การที่จะเลือกจำนวนชั้นและความหนาของสายพานให้ถูกต้องนั้นถ้าพิจารณาเฉพาะกรณี Impact load มีปัจจัยหลักๆอยู่ 2 เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ
1) น้ำหนักของวัสดุที่ load (weight of lump-kg)
2) ประเภทของที่รองรับสายพาน (เช่น สายพานเป็นตัวรองรับโดยตรงหรือมีที่รองรับที่เหมาะสมเช่นมี Impact Roller หรือ Impact Bed เป็นต้น)
ในข้อแรกท่านจะต้องหาน้ำหนักของก้อน (Lump) วัสดุที่ตกกระทบบนสายพานให้ได้ เรื่องอย่างนี้ท่านจะต้องใช้ Common Sense ของท่านเลือกขนาดของวัสดุที่จะใช้เป็นตัวแทนกลุ่มวัสดุทั้งหมดให้เหมาะสม เพราะแน่นอนว่าขนาดของวัสดุย่อมไม่มีทางที่จะมีขนาดสม่ำเสมอ (Uniform) หรือมีขนาด (Size) ที่เท่ากันทุกก้อนได้ แต่ปัญหาของผู้ออกแบบที่ประสบคือ ต้องรีบออกแบบอย่างรวดเร็วเพื่อเสนอราคา และบ่อยครั้งมากจะไม่สามารถลงสนามเพื่อหาน้ำหนักของวัสดุที่เป็นตัวจริงได้...ครั้นจะรอมากๆ เจ้านายก็เร่ง เนื่องจากลูกค้าก็อยากได้ราคาไวๆ ... ครั้นจะออกแบบมั่วมากไปหน่อยก็กลัวระบบจะไม่ work ทำยังไงดีหว่า?!?!?
เพื่อช่วยให้ชีวิตของผู้ออกแบบมีความสูขมากขึ้นเพราะเชื่อว่าบางครั้งผู้ออกแบบก็ไม่สามารถ ลงสนามเพื่อหาข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อนออกแบบได้ จึงมีมนุษย์หัวใสทำคู่มือให้ผู้ออกแบบสามารถใช้วิจารณญาณเลือกใช้ข้อมูลให้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงเพื่อความประหยัดเวลา อย่างกะรู้ใจผู้ออกแบบในสิ่งที่อยากรู้ ดังนั้นการหาน้ำหนักเบื้องต้นก็ใช้ตามตารางข้างล่างนี้ไปก่อนก็แล้วกัน
จากตารางนี้เป็นตารางหาน้ำหนักของวัสดุที่ใหญ่ที่สุด (Weight of Max. Lump) มีหน่วยเป็น Kg.วิธีการใช้งานก็คือ
ตารางที่ 1
1) ท่านดูว่า Bulk Density (t/m3) ของวัสดุที่ท่านออกแบบมีค่าเท่าไหร่)
2) ขนาดของวัสดุที่ลำเลียง (Lump size)
3) จากนั้นก็ลากมาประจบกันหาน้ำหนักของวัสดุที่ลำเลียงได้
ตัวอย่างเช่น
สมมุติทลายปาล์มที่บีบน้ำมันปาล์มออกแล้วมี Bulk Density เท่ากับ 0.8 ตันต่อลูกบากศ์เมตร (เอาให้เวอร์ไปเลย ) มีขนาดของ Lump ประมาณ 225x225 มม. ดังนั้นจะมีน้ำหนักของ Lump เท่ากับ 13.5 kg เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในกรณีของทลายปาล์มนี้ ผู้เขียนขอแนะนำให้ผู้ออกไปลงสนามไปสำรวจข้อมูลจริงจะถูกต้องมากกว่ามากเนื่องจากปริมาณความชื้นของทลายปาล์มมีผลกระทบกับ น้ำหนักของทลายปาล์มเป็นอย่างยิ่ง เช่น เมื่อรีดน้ำมันปาล์มออกมาใหม่ๆ ทลายปาล์ม 1 ทลาย อาจจะหนัก 3-4 กิโลกรัม ตากแดด 2-3 วัน น้ำหนักอาจเหลือ 2-3 กิโลกรัม แต่พออยู่กลางฝนอาจจะหนักเพิ่มขึ้นเป็น 6-8 กิโลกรัมก็ได้ ข้อมูลอย่างนี้ถ้าใช้ผิด การคำนวณก็จะพลอยผิดไปด้วย
บทลงโทษความผิดของท่านก็คือท่านอาจจะเลือก Spec ของสายพานที่มีราคาต่างกันถึง 2 เท่า
(แค่นี้...ก็แย่แล้ว...)ก็ได้ขอย้ำว่าเรื่องน้ำหนักและขนาดของทลายปาล์มที่แท้จริงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องรู้ให้ได้ เพราะทั้งสองปัจจัยจะเป็นตัวเลือกขนาดความกว้าง และจำนวนชั้นของผ้าใบรับแรงดึง ซึ่งมีผลโดยตรงกับราคาของสายพาน
หมายเหตุ
Bulk Density ของตารางใช้สำหรับวัสดุ (Lump) ที่มีขนาดไม่เกิน 150x150 มม.นอกนั้นใช้สำหรับวัสดุที่มีลักษณะเป็น Size อื่นๆ เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือเป็นแผ่นๆเป็นต้น
เมื่อเราหา Lump Size จากตาราง 1 ได้แล้วขั้นต่อไป ก็นำน้ำหนักที่หาได้ (สมมุติ 13.5kg) มาหาจำนวนชั้นของจำนวนผ้าใบตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2
จะเลือกจำนวนผ้าใบได้ 2 กรณี
กรณีที่1 น้ำหนัก 13.5 Kg. ถ้าหากมีที่รองรับที่ดีเช่น Impact Roller หรือ Impact bed ให้ใช้ตัวเลขข้างล่างเส้นเฉียง (/) กรณีนี้ต้องใช้ EP 150 จำนวน 5 ชั้น โดยมี (Maximum Lump เท่ากับ 25Kgมากกว่า 13.5 Kg เผื่อ SF ได้เยอะแยะเลย)
กรณีที่2 ถ้าหากไม่มีที่รองรับ (Cushion) คือให้วัสดุหล่นโดยตรงลงที่สายพาน จะต้องใช้ EP200 หรือ EP 250 จำนวน 6 Ply (Maximum Lump เท่ากับ 14 kg) ใกล้เคียงกับ 13.5 Kg.แทบไม่มี SF เลย )ลองใช้วิจารณญาณเปรียบเทียบเอาเองว่า ทั้ง 2 กรณีนั้นท่านจะตัดสินใจอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ...
หมายเหตุ
กรณีที่มีวัสดุขนาดใหญ่มีมากกว่า 25 % ของวัสดุที่ขนถ่าย แนะนำให้เพิ่มจำนวนชั้นของสายพานเพิ่มขึ้นอีก1 ชั้น .ในหลายกรณีของวัสดุที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากการคำนวนหา Minimum Ply ของสายพานจะเป็นตัวที่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับเป็นคำตอบในการเลือก Spec ของสายพาน
เป็นอย่างไรบ้างครับ... แฟนคลับของสายพานไทย...คงได้ความรู้มากขึ้นมาบ้างเล็กน้อย จริงๆแล้วเรื่องนี้ยังไม่จบนะครับ ...ยังมีภาคต่อไปเช่นหากว่า วัสดุ load โดยผ่าน Chute ความเร็วการตกของวัสดุตาม chute ที่มีมุมเอียง (chute angle ) ต่างกันก็จะให้ผลลัพธ์การคำนวณที่ต่างกันไปด้วยครับ ซึ่งสายพานไทย ขอยกไว้รับใช้แฟนคลับในบทความครั้งต่อไปก็แล้วกัน ถ้าหากอยากให้เราทำเรื่องนี้เร็วๆ ก็รีบส่งข่าวคราวมาบอกกันบ้าง จะได้รีบรับใช้ตามความประสงค์ของแฟนคลับต่อไปนะครับ สวัสดีครับ
ก่อนจบมีของฝาก ... ของแถม ... เมื่อรู้เรื่องราวของสิ่งดีๆมามากแล้วลองมาดูเรื่องราวที่ไม่เป็นข่าวดีนักกันบ้างแต่หากดูให้ดี...ดูให้เป็นบทเรียนก็จะมีประโยชน์เหมือนกัน... เอาไว้เป็นครูสอนก่อนตัดสินใจ...
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......