ลูกกลิ้งลำเลียง กับ แรงม้า (Idler and Horsepower requirement)
ถาม : คุณ TCB ครับวันนี้เรามาคุยเรื่อง ลูกกลิ้ง กันดีไหมครับ?
ตอบ : งั้นคุณถามมาเลยว่าอยากจะรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับ ลูกกลิ้ง บ้าง
ถาม : ลูกกลิ้งมี ความสำคัญหรือเป็นปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการออกแบบ สายพานลำเลียง ยังไงครับ
ตอบ : นอกจาก ลูกกลิ้ง จะทำหน้าที่รองรับ สายพาน ที่ขนส่งวัสดุแล้ว ลูกกลิ้ง ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงเสียดทาน(friction)ในระบบซึ่งแรงเสียดทานนี้จะทำให้มีผลกระทบกับแรงดึงใน สายพาน (belttension) และ แรงตึงใน สายพาน นี้จะเป็นแรงซึ่งใช้ คำนวณในการขับเคลื่อนระบบซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องกับพลังงานที่ต้องใช้ นั่นก็คือเราจะใช้แรงม้าขับ(horsepower)เท่าใด เพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
รูปที่1 แสดงลักษณะของ ลูกกลิ้ง รองรับ สายพาน (Idler)
รูปที่2 ลักษณะการใช้ ลูกกลิ้ง รองรับ สายพาน
รูปที่3 ลักษณะการใช้ ลูกกลิ้ง รองรับในงาน ระบบ สายพาน ลำเลียง
ถาม : ถ้าอย่างงั้นส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอกของ ลูกกลิ้ง ก็จะมีความ สำคัญสำหรับการเลือกมอเตอร์ที่จะใช้ขับเคลื่อนระบบนั่นซิครับ
ตอบ : แน่นอนครับ ส่วนประกอบทั้งหมดตั้งแต่วัสดุที่ใช้ทำตัว ลูกกลิ้ง เอง (อาจเป็นเหล็กหรือ polyethylene)ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของ ลูกกลิ้ง การเลือกใช้ตลับลูกปืน (Bearing)
ล้วน แต่เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ถ้าเลือกขนาด ลูกกลิ้ง ที่พอเหมาะวัสดุ ที่ใช้ ทำลูกกลิ้งมีแรงเสียดทานต่อ ลูกกลิ้ง ใช้ซีล (Seal) ที่มีคุณภาพดีก็จะเกิดแรงเสียดทานน้อยผลก็ คือจะใช้มอเตอร์ขับที่มีแรงม้าต่ำซึ่งจะช่วยพลังงานและประหยัดเงินได้ครับ
ถาม : ช่วยบอกวิธีการเลือก ลูกกลิ้ง ให้เหมาะสมหน่อยได้มั้ยครับ?
ตอบ : เอาไว้ในบทความครั้งหน้าก็แล้ว กันนะ