งานเปลี่ยน – ต่อสายพานลำเลียง เขาทำอย่างไรกัน
ขั้นตอนหลัก
1. ดูหน้างาน เพื่อวางแผนการทำงาน
2. เคลื่อนย้ายเครื่องจักร อุปกรณ์ ไปยังหน้างาน
3. ลาก - ดึง ของเก่าออก
4. ลาก - ดึงเอาของใหม่เข้า
5. ต่อหัวสายพาน
6. ทดสอบเดินเครื่องจักร ดูสภาพและความแข็งแรงของรอยต่อ
รายละเอียดของแต่ละขั้นตอน
1. ดูหน้างาน เพื่อวางแผนการทำงาน
- เพื่อเลือกใช้สายพานให้เหมาะสม ทั้งคุณสมบัติของยางสายพาน เช่น ทนการเจาะทะลุ ทนร้อน ทนน้ำมัน เป็นต้น
- หน้ากว้างสายพาน ความยาวทั้งเส้น ความหนายาง และค่าการทนแรงดึง(EP)
- การสำรวจพื้นที่ติดตั้ง เพื่อเตรียมการเรื่องเครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้งาน
เช่น หน้างานมีพื้นที่แคบ อยู่บนที่สูง ไม่สามารถใช้เครนได้ เป็นต้น เหล่านี้จะทำให้เราต้องจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
- ทำการวางแผนเรื่องเวลาการทำงานต้องมีความชัดเจนเช่น กรณีที่มีการเช่ารถเครน หรือ การเช่าเรือ จะมีการคิดค่าเช่าเป็นช่วงเวลา ถ้าหากเราทำงานเกินเวลาก็จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าล่วงเวลาตรงนี้ บางทีหน้างานจะมีการควบคุมเรื่องการเปิดปิดระบบไฟฟ้า ก็จะต้องจัดเวลาการเข้าทำงานให้เหมาะสมด้วย
2. การเคลื่อนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ ไปยังหน้างาน
ในบางครั้งทางบริษัทผู้ว่าจ้างมีการวางแผนหยุดเดินเครื่องจักรไว้เป็นเวลา หรือ จำกัดเวลาการหยุดเดินเครื่องจักรเพื่อซ่อมบำรุงในจุดนี้จะทำให้เราต้องควบคุมเวลาการปฏิบัติงานอย่างแม่นยำ เพราะหากทำงานช้ากว่าที่วางแผนไว้จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของบริษัทผู้ว่าจ้างด้วย ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายอีกตามมาดังนั้นทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัสดุ ไปเตรียมไว้ที่หน้างานก่อนแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เวลาในการเคลื่อนย้าย ไปรวมอยู่ในเวลาปฏิบัติงานนั่นเอง
3. ลาก - ดึง สายพานเส้นเก่าออกก่อน
จุดประสงค์
- เพื่อเอาสายพานเส้นเก่าออก ก่อนเปลี่ยนสายพานใหม่เข้าแทน
เครื่องมือที่ใช้
- เครน
- รอกไฟฟ้า
- เครื่องมือตัดสายพาน
- ลวดสลิง
- เครื่องม้วนสายพาน
- รีลม้วนสายพาน
ในขั้นตอนนี้จะเริ่มต้นจากการ ตัดสายพานเส้นเดิมให้ขาดออกจากกันก่อน ด้วยเครื่องมือตัดสายพาน และจะใช้เครื่องม้วนสายพานม้วนสายพานทั้งเส้น เพื่อเก็บไว้ในรีล รอการเคลื่อนย้ายต่อไป
4. ลาก - ดึง สายพานของใหม่เข้าไปแทนที่
จุดประสงค์
- เพื่อนำสายพานเส้นใหม่ เข้าแทน สายพานเส้นเก่า
เครื่องมือที่ใช้
- เครน
- รอกไฟฟ้า
- เครื่องมือตัดสายพาน
- ลวดสลิง
- เครื่องม้วนสายพาน
- รีลม้วนสายพาน
ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการดึงสายพานม้วนใหม่เข้าไปในระบบแทน ซึ่งจะกระทำได้ยากกว่าขั้นตอนการลาก-ดึงสายพานเส้นเก่าออกเพราะจะต้องมีเครื่องจักร อุปกรณ์ เข้าช่วย โดยเฉพาะกรณีเป็นระบบสายพานที่เป็นที่ลาดชัน เพราะการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆจะกระทำได้ลำบากความยาวของสายพานจะแปรผันกับเวลาที่ดึงเข้าไปในระบบ เช่น ทำการลากดึงสายพาน Steel Cord หน้ากว้าง 1.40 เมตร ความยาวสายพาน 440 เมตร น้ำหนัก 12.56 ตันเข้าไปในระบบสายพานที่มีหลังคาคลุมและไม่สามารถนำรถเครนเข้าไปยังหน้างานได้ ต้องใช้รอกไฟฟ้าในการลากดึงจะทำให้ต้องใช้เวลาในการ ลาก - ดึงเข้าระบบเป็นวันๆเลยทีเดียว เพราะต้องค่อยๆ ดึงเข้าไปทีละช่วงสั้นๆนั่นเอง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมความพร้อมที่ดี ซึ่งเมื่อเราดึงสายพานทั้งม้วนเข้าไปในระบบแล้ว เราจะต้องทำการต่อสายพานให้ติดเป็นเส้นเดียวกัน
5. ต่อหัวสายพาน
จุดประสงค์
- เพื่อทำให้ปลายสายพานติดเป็นเส้นเดียวกัน
เครื่องมือที่ใช้
- เครื่องต่อสายพาน
- เครื่องขัดสายพาน
- กาวต่อ cement
- อุปกรณ์ และเครื่องมือพื้นฐานอื่นๆ
ในขั้นตอนนี้เราจะนำปลายสายพานทั้งสองด้านมาต่อให้เป็นเส้นเดียวกัน
การต่อสายพานผ้าใบ(Fabric)จะแตกต่างกับการ สายพานแบบแกนลวด(Steel Cord)ก็จะมีขั้นตอนการต่ออีกแบบที่ซับซ้อนกว่า กล่าวคือหากเป็นสายพานแกนลวดจะใช้เวลา ความดัน ในการต่อมากกว่านวึ่งจะใช้เวลาต่อประมาณครึ่งวันต่อ 1 joint
ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเปิดผิวยางชั้นบน(Cover)ออก แล้วให้ติดกันด้วยกาว (Cement) แล้ววางลงบนเครื่องต่อ ให้ความร้อน ให้ความดัน และบ่มเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
6. ทดสอบเดินเครื่องจักร ดูว่ารอยต่อหลุดหรือไม่
จุดประสงค์
- เพื่อตรวจความเรียบร้อยของงาน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานเปลี่ยนต่อสายพาน จะเป็นการทดสอบดูความเรียบร้อยของรอยต่อที่ต่อเอาไว้ ด้วยการรันเครื่องจักรให้ทำงานตามปกติ
ถ้ารอยต่อไม่หลุดร่อน สายพานเดินได้ปกติ ก็เป็นอันว่างานเปลี่ยน-ต่อเสร็จสมบูรณ์
“เลือก สายพานไทย ไว้ดูแลระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในงานบริการ
และศักยภาพของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่า ระบบท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน”
โทรหาเราสิค่ะ