Case Study of Belt Splicing
สวัสดีครับแฟนๆชาวสายพานลำเลียงยินดีต้อนรับเข้าสู่ปี2553ครับปีเก่าผ่านไปปีใหม่ผ่านมาและหวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงมีความสุขและสนุกกับการฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมานะครับโดยเรื่องที่ผมจะนำมาเล่าเพื่อเป็นอาหารสมองให้ผู้อ่านที่สนใจได้อ่านก็คือเรื่องเกี่ยวกับปัญหารอยต่อของสายพานลำเลียงครับ ปัญหาความเสียหายของรอยต่อของสายพานลำเลียงนั้นมีมากมายหลายแบบครับขึ้นอยู่กับสาเหตุและปํจจัยต่างๆประกอบกันครับซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อหาต้นตอของปัญหานั้นต่อไปครับ สำหรับวันนี้ผมก็จะนำเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับความเสียหายของรอยต่อของสายพานลำเลียงรวมถึงการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและถาวรต่อไปครับ
มาเข้าเรื่องกันเลยครับก่อนอื่นคงต้องเล่าถึงประวัติของสายพานเส้นนี้เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงปัญหารวมถึงลักษณะต่างๆโดยรวมของสายพานเส้นนี้ครับลักษณะของสายพานลำเลียงเป็นแบบStacker/Reclaimerครับจึงต้องสามารถเดินได้สองทางครับlineยาว48เมตรครับส่วนspecของสายพานก็เป็นดังนี้ครับ EP1250/5 BW 1800 TOP COVER 10 mm.Bottom Cover 2.5 mm. Flame Resistance ครับซึ่งถือว่าเป็นงานheavy duty ครับและโดยประวัติการใช้งานของสายพานเส้นนี้ก็เป็นดังนี้ครับ
ลักษณะของ Stacker Reclaimer ซึ่งมีหน้าที่กองเก็บวัสดุและตักกลับไปใช้ในตัวเดียวกัน
- สายพาน Line นี้ได้ทำการเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง เส้นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นเส้นที่ 3 ครับ (ใช้งานเส้นละไม่เกิน 2 ปี
- สายพานลำเลียงมีปัญหาเกิดรอยแตกด้านล่าง ...ย้ำด้านล่าง... ที่รอยต่อตั้งแต่การติดตั้งเครื่องจักรครั้งแรก (เส้นที่ 1ได้ทำการตัดต่อ 1 ครั้ง ก่อนเปลี่ยนเส้นใหม่เป็นเส้นที่ 2 ครับ
- เมื่อเปลี่ยนสายพานเป็นเส้นที่ 2 แล้ว สายพานลำเลียงเส้นดังกล่าวยังเกิดปัญหาเช่นเดิมอีก คือ แตกที่รอยต่อด้านล่าง ได้ตัด-ต่อ 2 ครั้งและ ซ่อมสายพานอีก 2 ครั้ง แล้วจึงเปลี่ ยนสายพานเส้นใหม่เป็นเส้นที่ 3 ครับ
- เมื่อเปลี่ยนสายพานเป็นเส้นที่ 3 (เส้นที่ใช้ในปัจจุบัน) ทราบว่าใช้มาแล้วประมาณ 2-3 เดือน ก็เกิดปัญหาเดิมอีก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นกับเส้นที่ 1 และ เส้นที่ 2 ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้ตัด-ต่อ สายพานหลายรายแล้วก็ตาม (ไม่ใช่TCB) เมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2552 จนกระทั่งมาถึงครั้งนี้ที่เกิดอุบัติเหตุสายพานขาด (29 ธันวาคม 2552) ครับจากประวัติสายพานตามที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นTCBจึงได้นำกลับวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั้งยืนโดยTCBได้สรุปแนวทางแก้ปัญหาไว้ดังนี้ครับ
*** *** *** *** ---------------------------- *** *** *** ***
- สายพานลำเลียง Line Stacker /Reclaimer มี Spec ดังนี้ EP 1250/5, Top 10 mm., Bottom 2.5 mm ตามความเห็นของTCBแล้วเห็นว่าค่า Bottom 2.5 mm. มีค่าน้อยเกินไป เพราะ ตามมาตรฐานของ Din 22101 แล้ว ค่า Max Ratio ความหนาด้าน Top : Bottom ไม่ควรเกิน 3 :1เพราะว่าหากความแตกต่างของTopและBottomมาจะทำให้เกิดความเค้นและความเครียดไม่เท่ากันโดยด้านที่บางกว่ามาก ก็จะรับภาระโหลดขณะที่สายพานเข้าโค้งของ Pulley l6 สูงมาก แรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นของสายพานจะไม่เพียงพอต่อความเค้นที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ยางยึดติดมากเกินไปทำให้เกิดรอยแตกได้ ดังนั้นในการสั่งซื้อสายพานครั้งต่อไป สายพานไทย ขอแนะนำว่า ควรจะเพิ่มความหนาของ ด้าน Bottom เป็น 3.0 mm. – 3.5 mm. และลดความหนาด้าน Top เป็น 8.5 mm – 9.0 mm. ก็ จะสามารถซื้อสายพานได้ในราคาเดิมที่เคยซื้อ และในการปรับปรุงความหนาของสายพานด้าน Top และ Bottom จะไม่ทำให้การใช้งานเกิดความเสียหายทั้งด้าน Strength และ Service life
- เนื่องจากสายพานลำเลียง Line Stacker/Reclaimer มีค่า Tensile Strength 1250 N/mm ซึ่ง เป็นค่าแรงดึงสายพานที่สูง ดังนั้น สายพานไทย จะทำการเสริมผ้าใบ พิเศษบริเวณรอยต่อด้าน Bottom อีก 1 ชั้น เพื่อเพิ่ม Tensile Strength ของผิวด้าน Bottom ให้ ต้านแรงดึงที่เกิด ซึ่งคาดว่าจะช่วยยืดอายุรอยต่อด้าน Bottom ได้ไม่มากก็น้อย
- สายพานลำเลียง Line Stacker/Reclaimer ถูกออกแบบให้สามารถเดินสายพานได้ 2 ทาง ดังนั้น นอกจากบริเวณรอยต่อจะเสริมชั้นผ้าใบพิเศษ 1 ชั้นแล้ว สายพานไทยจะทำการประกบ รอยต่อด้วยวิธี Cover Type แบบตัว V ด้วย (การทำรอยต่อรูป V ใช้ได้ดีสำหรับสายพานที่เดินได้ 2 ทาง)
- Splicing Kit ที่ใช้ก็ควรเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของ Cover ของสายพานเดิมด้วยคือเป็นแบบ flame resistance เพื่อให้เวลาต่อ (Vulcanize) Polymer ของยางจะได้ทำการต่อกันได้ดีเป็นเนื้อเดียวกัน
- หากการต่อสายพานในครั้งต่อไปได้ปฏิบัติตามการแก้ปัญหาดังกล่าวแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อีก TCB จึงขอแนะนำให้ ปลี่ยนชนิดของชั้นผ้าใบใหม่จากแบบที่ 1 (แบบ EP 1250/5 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ที่มีการถักทอแบบธรรมดา (Common Fabric) ( รูปที่ 1 ) เป็นแบบ ที่ 2 ( รูปที่ 2 ) ที่มีการถักทอแบบ Straight Warp (ซึ่งมีผ้าใบเพียง 1 ชั้นเท่านั้น แต่มีความ แข็งแรง และสามารถรองรับแรงดึงได้มากกว่าผ้าใบ ที่มีการถักทอ แบบธรรมดาหลายเท่า) สำหรับสายพานเส้นนี้อาจใช้ผ้าใบแบบ SW 600 เพียง 2 ชั้นเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้ทางยุโรปและ อเมริกานิยมสายพานแบบ SW นี้มากครับ
แบบที่ 1 แบบที่ 2
นอกจากนั้น ชั้นผ้าใบแบบ Straight Warp ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น
* ทนทานต่อ Impact สูง (เพราะว่าถักทอแบบหนาแน่น)
* รอยต่อไม่เปิดง่าย (เพราะจะต่อแบบ Finger Type สำหรับ High Tension Belt)
* แข็งแรงกว่า ยืดตัวน้อยกว่า (โอกาสรอยต่อเปิดก็น้อย)
* ขนาด ของ Pulley เล็กกว่า (Stress ใน Belt ลดลง)
* เบากว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า (เพราะมีผ้าใบแค่ 2 ชั้น)
โดยสถานการณ์ปัจจุบันTCBได้เข้าไปต่อสายพานตามขั้นตอนการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว(ข้อ1-3)และคงต้องรอดูผลว่าจะออกมาอย่างไรและหากได้ผลเป็นเช่นไรแล้วผมจะนำมาบอกกล่าวให้ท่านผู้อ่านอีกครั้งนะครับ...สวัสดี...