เหลือเชื่อ Motor Tip
สวัสดีครับพี่น้องชาวสายพานลำเลียงที่สนใจความรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงครับ ช่วงนี้สุขภาพของสายพานลำเลียงที่ท่านผู้อ่านดูแลรับผิดชอบเป็นอย่างไรกันบ้างครับ หากเราดูแลเอาใจใส่มันอย่างสม่ำเสมอการทำงานก็คงจะยังเป็นปกติดีใช่ไหมครับ(เป็นเรื่องธรรมดา)แต่ถ้าหากขาดการดูแลเอาใจใส่ (Maintenance)ไม่ดีหรือไม่สม่ำเสมอ ถึงจะทำงานได้ก็จะไม่เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็นครับ ฉะนั้นหากต้องการที่จะให้สายพานของท่านสามารถดำเนินงานได้อย่างไร้ปัญหา ไม่กระทบต่อกระบวนการผลิตของท่านแล้วก็ควรที่จะทำInspectionและPreventive Maintenance ครับที่ผมกล่าวมาข้างต้นนี้ก็เพราะหวังดีต่อท่านผู้อ่าน เพราะปัญหาที่ทำให้ระบบสายพานลำเลียงหยุดเดิน(โดยที่เราไม่ต้องการให้มันหยุด)มีอยู่บ่อยครั้งครับซึ่งก็มีอยู่หลายลักษณะ เช่น ขาดการ Maintenance,การออกแบบที่ไม่เหมาะสม,การใช้งานในลักษณะที่ผิด,และในวันนี้ผมมี case ตัวอย่างการหยุดเดินของสายพานที่ไม่ค่อยจะพบเจอมาให้ดูกันครับ
การติดตั้ง Skirt Rubber ลักษณะดังรูปจะก่อให้ก่อแรงเสียดทานที่สูงและเป็นการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง มีโอกาสที่จะละลายกลายเป็นกาวชั้นดี
“มอเตอร์หยุดเนื่องจากการ over Load ” ระบบสายพานลำเลียงจะเดินได้นั้นต้องใช้กำลังขับจากมอเตอร์โดยกำลังขับจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแรงเสียดทานในระบบมีมากน้อยเพียงใด เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราใช้เลือกขนาดของมอเตอร์ โดยแรงเสียดทานที่ใช้ พิจารณาในการออกแบบมีอยู่หลายตัวด้วยกัน เช่น แรงเสียดทานระหว่างสายพานกับลูกกลิ้ง, แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเนื่องจากCleaner, Skirt Rubber โดยทั่วไปแล้วในการเลือกใช้มอเตอร์นั้นก็จะเลือกมากกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณครับ เพราะว่าต้องเลือกให้ตรงกับค่าตามมาตรฐานของมอเตอร์ เช่น ค่าที่คำนวณได้ 7.8 Kwก็ต้องเลือกมอร์เตอร์ที่มีขนาด11Kwครับดังนั้นโดยทั่วไปแล้วขนาดของมอเตอร์จะมากกว่าโหลดที่ใช้จริงอยู่แล้วครับแล้วอะไรที่ทำให้Motor Overload จนไม่สามารถหมุนได้ ก็มีอยู่สองตัวอย่างที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูกันก็คือ แรงเสียดทานของ Skirt Rubber และ Carry Back บริเวณหัวDrive Pulleyครับซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว Caseแรกที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟังก็คือ Skirt Rubber หลอมละลายติดกับสายพานจนทำให้motorไม่สามารถหมุนพาสายพานให้เคลื่อนที่ได้ครับ จากรูปท่านผู้อ่านจะเห็นว่าเป็น Flat Belt Feeder ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ Skirt Rubber ตลอดทั้งความยาวของสายพานลำเลียง เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุตกหล่นในขณะขนถ่ายวัสดุ โดยในการติดตั้งSkirtนั้นหากเราติดตั้งเป็นลักษณะให้งอติดกับสายพานลำเลียงก็จะทำให้เกิดแรงเสียดทานสูงครับและทำให้วัสดุติดและตกค้างบริเวณSkirt(เป็นการติดตั้งSkirt Ruberที่ผิดครับ)
นอกจากเพิ่มความฝืดแล้วยังสร้างความเสียหายให้กับสายพานลำเลียงด้วย
แต่การติดตั้งในครั้งแรกนั้นสายพานลำเลียงยังสามารถวิ่งได้นั้นเนื่องจากแรงเสียดทานยังไม่สูงจนเกินกำลังของ Motor ครับแต่หากเรา Operate ไปเรื่อยๆการเสียดสีระหว่าง Skirt Rubber กับสายพานลำเลียงในระยะเวลาหนึ่งนั้นก็จะเกิดความร้อน ซึ่งยางเมื่อโดนความร้อนก็จะเกิดการอ่อนตัว (ละลาย) ครับ และเมื่อหยุดสายพานลำเลียงเนื่อของ Skirt Rubber ที่ละลายนั้นเมื่อมันเย็นตัวลงก็จะทำให้ยึดติดกับตัวสายพานลำเลียงครับ (ลักษณะเป็นเหมือนกาวดีๆนี่เอง) และเมื่อเราจะเริ่มเดินสายพานลำเลียงอีกครั้งสายพานลำเลียงก็จะไม่เดินเนื่องจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการละลายของ Skirt Rubber จนทำให้เกินโหลดของมอเตอร์ที่จะขับระบบได้ครับ มอเตอร์ Tip แล้ว Tip อีก หาสาเหตุแทบตายกว่าจะรู้ว่าเกิดจาก Skirt ละลายติดกับสายพานซึ่งไม่มีใครคิดเลยว่ามันจะเกิดขึ้นได้ ในการแก้ไขนั้นก็ต้องติดตั้ง Skirt Rubber ในลักษณะตั้งฉากกับสายพานลำเลียงครับซึ่งเป็นการติดตั้งที่ถูกต้อง เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายพานลำเลียงน้อยที่สุดและความฝึด (Friction) นอ้ยที่สุดด้วยเช่นกัน จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มแรงเสียดทานให้กับระบบสายพานครับ สายพานลำเลียงจึงสามารถเดินต่อไปได้ครับ
ลักษณะของ Feeder Belt จึงไม่จำเป็นต้องมี Skirt Rubber
แต่หากพิจารณาแล้วสายพานเส้นดังกล่าวก็ควรเป็น Feeder Belt ครับ แต่หากมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอื่นๆที่ไม่สามารถใช้ Feeder Belt ได้แต่ หากจะให้การป้องกันวัสดุตกหล่นด้านข้างให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียง Feeder Belt และลดปัญหา Skirt Rubber ติดก็สามารถใช้ Skirt Rubber Double Type ได้เพราะปัญหา Skirt Rubber ละลายติดกับสายพานก็จะไม่เกิดขึ้นด้วยเช่นกันเนื่องจากส่วนที่ Skirt สัมผัสกับสายพานทำจากวัสดุพิเศษต่างจากยางทั่วไปครับ
Skirt Rubber Double Seal System สามารถลดการตกหล่นของวัสดุได้ดีและเกิดแรงเสียดทานระหว่าง Skirt กับ สายพาน น้อยมากจึงไม่ทำให้สายพานลำเลียงเสียหาย
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้สายพานลำเลียงหยุดเดินเนื่องจาก Friction ทำให้เกิน Load ของ Motor จึงทำให้ระบบสายพานหยุดเดินก็คือการเกิด Carry Back บริเวณ Drive Pulley (วัสดุติดสายพานลำเลียงและตกหล่นด้านสายพานเดินกลับ) จากรูปจะเห็นว่าวัสดุนั้นตกหล่นบริเวณ Drive Pulley จนกองท่วมหัวของ Drive Pulley ครับ เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวนั้นมักเกิดกับวัสดุในการขนถ่ายที่มีความชื้นและไม่ได้ติดตั้งชุดทำความสะอาดที่ถูกต้องและประสิทธิภาพในการทำงานต่ำครับ ลักษณะของปัญหาก็จะคล้ายๆ กับกรณีแรกครับคือ เมื่อวัสดุกองอยู่ที่ Pulley มันก็ยังสามารถที่จะ Operate ได้แต่หากหยุดเดินสายพานซักระยะหนึ่งแล้ววัสดุที่มีความชื้นนั้นได้กลายสภาพเป็นวัสดุที่แห้งและเกาะติดกับ Pulley จึงทำให้ Motor นั้นไม่มีกำลังมากพอที่จะพาสายพานให้เคลื่อนที่ไปได้ครับ ปัญหานี้แก้ไขได้ง่ายมากครับ เพียงแค่เราติดตั้ง Belt Cleaner ก้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แล้วครับ เพราะว่าในระบบสายพานเส้นดังกล่าวจะเกิด Carry Bag น้อยมากอีกต่อไปปัญหาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้นอีกครับ หลายท่านที่ได้อ่านบทความนี้แล้วก้คงจะได้ความรู้ใหม่ๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานของท่านผู้ท่านต่อไปครับ
Carry Bag สร้างความฝึดให้กับ Roller & Pulley ในบางครั้งก็เป็นสาเหตุของมอเตอร์ Tip โดยเราคาดไม่ถึง
และหากท่านผู้อ่านพบเจอปัญหาในลักษณะดังกล่าว สายพานไทยยินดีให้คำปรึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดให้กับบริษัทของท่านครับ TCB ยินดีให้บริการครับไม่ว่าจะเป็นการจัดหา การติดตั้ง Skirt Rubber หรือ Belt Cleaner อย่าลืมเรียกใช้บริการได้เลยครับ
ขอพลังจงอยู่กับท่าน