ไฟไหม้ระบบสายพานลำเลียง (เห็นจะ! จะ! ที่เหมื่องแห่งหนึ่ง ภาคกลางของไทยนี่เอง!!! )
เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 AV ได้รับคำสั่งจาก MD ให้รีบทำ proposal เสนอราคาอุปกรณ์เกี่ยวกับงาน ขนถ่าย ลำเลียง เช่น pulley สายพาน ลูกกลิ้ง และงานบริการเกี่ยวกับการติดตั้ง และทดสอบระบบ ขนถ่าย ลำเลียง MD ท่านย้ำว่างานนี้เร่งด่วนมาก เพราะว่าลูกค้า(โรงไฟฟ้า) ต้องการราคาด่วน ให้ AV รีบปั่นงานให้เสร็จภายในเย็นวันนั้นเลย
เฮ้อ!! โอ้หนอ! AV เจองานด่วนอีกแล้ว แถมเจอในวันที่ นัดกะกิ๊กที่เพิ่งคบกันได้แค่ 2 อาทิตย์ซะนี่ ดูซิกะลังชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ มีหวังอีกหน่อยคงได้ไปย้ายไปอยู่หมู่บ้านคานทองนิเวศน์แหงแซะ!! แต่พอทราบเหตุผลจาก MD ว่า ทำไมต้องรีบร้อนจังเจ้าค่ะ เท่านั้นเองก็รู้สึกได้ว่าความโชคร้ายของตัวเอง ช่างน้อยนิดเหลือเกินเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้า (ไม่เป็นไรค่ะ เพื่อลูกค้าคนสำคัญแล้ว AV ยอมย้ายไปอยู่คานทองนิเวศน์เจ้าค่ะ )
"ไฟไหม้ ระบบ สายพาน ลำเลียง ขนถ่านหิน ของ โรงไฟฟ้า" MD บอกอย่างราบเรียบ " ถ่านหิน นะไม่ใช่ถ่านหุงข้าว ตอนนี้เรื่องมันเกิดขึ้นจริงแล้ว เมื่อไม่นานมานี้เอง เราเคยพูดเกริ่นให้กับลูกค้าหลายหลายที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงขนถ่ายถ่ายหินว่า โรงงานมีโอกาสเสี่ยงเรื่องไฟไหม้และหากโชคร้ายก็ถึงกับระเบิดได้ แต่ไม่ค่อยมีใครใคร่ใส่ใจกันมากนักถ้าเรื่องมันยังไม่เกิด ผมอยากให้ AV เขียนเรื่องนี้ให้ความรู้แก่ลูกค้าเราหน่อย ลูกค้าจะได้หาทางป้องกันไว้ก่อนได้”
ไฟไหม้เพียงน้อยนิด มีสิทธิ์ระเบิดได้ (coal fired explosion)
“ได้คะ เดี๋ยว AV จัดให้” พร้อมๆกันนั้น AV ได้รับแรงบันดาลใจจากแรงบวกอีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 นี้เองทีมช่างของ TCB ต้องเข้าไปซ่อม (spot repair) สายพานของโรงงานผลิต carbon black ที่เสียหายเพราะสาเหตุเกิดจาก carbon black ร้อนๆใหม้สายพาน แต่โชคดีหน่อยที่ไหม้เฉพาะส่วนเป็นจุดๆ ไม่ได้ไหม้ทั้งระบบสายพานลำเลียง หรือลามไประบบอื่นๆ ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากไฟไหม้ระบบสายพานลำเลียงอย่างถี่ยิบเช่นนี้เอง เลยทำให้ AVเกิดแรงบันดาลใจอยากจะนำเสนอความรู้ทั่วๆ ไปให้แฟนคลับ รู้ว่าไฟไหม้มันเกิดได้อย่างไร อะไรที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ และจะป้องกันได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในระบบสายพานลำเลียง สมาชิกท่านใดอยากทราบ กรุณายกมือขึ้น เดี๋ยว AV เขียนเสร็จจะรีบส่ง e-mail ไปให้ก่อนคนอื่นค่ะ เอาล่ะค่ะ เรามาเริ่ม ดูกันเลยดีกว่า ไฟไหม้สายพาน เกิดขึ้นได้อย่างไร.....
Coal Fired Industrial Factory
โรงงานอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น โรงปูนซีเมนต์ โรงงานเหล็ก โรงงานเปโตรเคมี และโรงงานที่ต้องการความร้อนหรือไฟฟ้า เป็นพลังงาน มีความจำเป็น ยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไอน้ำ เนื่องจากหากเทียบกันหน่วยต่อหน่วย ปอนด์ต่อปอนด์แล้ว การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะมีราคาถูกกว่าการใช้น้ำมันเตาหรือก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งความได้เปรียบของการแข่งขัน ในบางอุตสหกรรมต้นทุนพลังงานอาจสูงถึง 30-40% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเลยทีเดียว สำหรับโรงงานอุตสหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักนี้ ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า coal fired industrial systems ถ้าเป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหินก็จะเรียกว่า Coal fired power plant เป็นต้น ถ่านหินเหล่านี้จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเบื้องต้น สำหรับ start up พวก kiln, boiler และเตาเผาในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ และใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนแก่ boiler ในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า
ของจริง!!! ไฟไหม้ระบบสายพานลำเลียงโรงปูนซิเมนต์แห่งหนึ่งของไทย
ก่อนจะไปไกลกว่านี้ AV ขอดึงความสนใจของท่านมาเข้าใจเกณฑ์เบื้องต้นเสียก่อนว่า ไฟไหม้จะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
1. เชื้อเพลิง หมายถึงอะไรก็ได้ที่ไหม้ไฟได้ ในที่นี้จะกล่าวถึง ถ่านหิน แต่ตัวที่เป็นเชื้อเพลิงเริ่มต้นจริงๆ คือ ฝุ่น (dust) ของถ่านหิน ยิ่งเป็นฝุ่นผงละเอียดมากแค่ไหนก็ยิ่งจะติดไฟง่ายเท่านั้น ยังไม่มีใครให้คำจำกัดความถึงขนาดของวัสดุเล็กแค่ไหนถึงจะเรียกว่าฝุ่น แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดของวัสดุ 100-1,000 ไมครอน ก็จะถือว่าเป็นฝุ่นผงแล้ว
2.ความร้อน จะเป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิของเชื้อเพลิง (ฝุ่นถ่านหิน) ให้ถึงจุดติดไฟ (ignition temperature) เมื่อถึงจุดติดไฟเชื้อเพลิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพและเกิดปฏิกิริยาทางเคมีอย่างรวดเร็ว ลุกเป็นไฟและเกิดการเผาไหม้
3.อากาศ Oxygen จะเป็นก๊าซช่วยให้ไฟติด เมื่อฝุ่นผงถ่านหินที่ลอยแขวนอยู่ในอากาศรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก สะสมความร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดๆหนึ่งที่เม็ดฝุ่นถ่านหินมีอุณหภูมิสูงพอก็จะเกิดการสันดาปขึ้นได้ โดยมีก๊าซ oxygen ที่ลอยอยู่รอบๆฝุ่นเหล่านั้นเป็นตัวช่วยทำให้เกิดการสันดาป
"หากเอาปัจจัยใด หนึ่งในสามออกไปจะไม่เกิดไฟไหม้"
ทุกๆ ปี บริษัท สายพานไทย จำกัด ต้องได้ไปซ่อมแซมสายพาน หรือระบบสายพานลำเลียงที่ถูกไฟไหม้ สัญญาณนี้ชี้ชัดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของท่านอีกต่อแล้วนะค่ะ
ดังนั้น AV จึงอยากจะขอเรียนเชิญท่านสมาชิกทั้งหลายร่วมด้วยช่วยกัน เผยแพร่ความรู้เหล่านี้หน่อยนะค่ะ เพราะหากมันเกิดขึ้นนั่นย่อมหมายถึงความเสียหายอันใหญ่หลวง อาจถึงกับทำให้ไฟไหม้โรงงานได้ ยังไม่นับความสูญเสียชีวิตของพนักงาน และทรัพย์สินอื่นๆ อีกมากมาย พวกเรา แฟนคลับของชมรมคนรักสายพานมาร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่ความรู้ให้เพื่อนๆ แวดวงผู้รักสายพานให้ระวังและป้องกันตัวกันไว้ก่อนดีกว่านะค่ะ
โปรดติดตามตอนที่ 2 ต่อไปนะค่ะ
Belt Tip : การป้องกันไฟไหม้สายพาน อีกวิธีคือการเลือกใช้สายพานให้เหมาะสม เรามาดูวิธีเลือกสายพานยังงัย ให้ปลอดภัยจากไฟไหม้กันดีกว่านะค่ะ
AV ขอแยกแยะความแตกต่างของ Flame-resistant belt และ Head-resistant belt ก่อน ดังนี้นะค่ะ
- Flame-resistant belt คือ สายพานที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ (Self-extinguishing) ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ก็จะเป็นเฉพาะจุดนั้น ไม่ลามหมดทั้งเส้น
- Heat-resistant belt คือ สายพานที่ป้องกันความเสียหายของผิวสายพาน เนื่องจากการขนถ่ายวัสดุที่มีความร้อน (แต่ติดไฟและลามได้)
ปกติแล้ว Flame-resistant belt ไม่จำเป็นต้องเป็น Heat-resistant belt นะค่ะ แต่ถ้าต้องขนถ่ายวัสดุที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ ในสถานที่เข้าถึงได้ยาก การเลือกสายพานชนิดที่เป็นทั้ง Flame-resistant และ Heat-resistant ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเหมืองถ่านหินใต้ดิน หรือในอุโมงค์ ก็ต้องเพิ่มคุณสมบัติของสายพานเป็นชนิด Anti-static เข้าไปด้วย เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงจากการเกิดประกายไฟ (Spark) จากไฟฟ้าสถิตด้วย
หากท่านต้องการสายพานชนิดพิเศษ อย่างนี้ อย่าลืมให้สายพานไทยได้รับใช้นะคะ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”