หมอสายพาน (Belt Doctor) - Service around conveyor belt
ตอนที่ 3 ควรรู้เรื่องอะไรบ้าง ณ จุดปล่อยวัสดุ (Discharging Area)
วันนี้ วันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ย้อนหลังไป 15 ปีก่อน ระหว่งวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2550 ได้มีเหตุการณ์นองเลือดบนถนนราชดำเนิน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ใช้กำลังเข้าสักกั้นการเดินขบวนของประชาชน เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "พฤษภาทมิฬ"
เหตุการณ์คราวนั้นถูกนำมาอ้างอยู่เสมอถึงความแตกแยกและความขัดแย้ง ขัดแย้งของประชาชน.... วันที่ 17 พฤษภาคม 2550 แม้ว่จะไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ของกลุ่มต่างๆยังคงดำรงอยู่ นาย TCB ก็ขอภาวนาอย่าให้มีเหตุการณ์ วุ่นวายจนต้องเสียเลือดเสียเนื้อของคนไทยด้วยกันอีกเลย
พฤษภาคม 2535 นาย TCB ก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ด้วยความโชคดีที่ไม่ได้มีชื่อว่าเป็น "วีระชน" มิฉะนั้น นาย TCB คงไม่มีโอกาสมาเล่า (เขียน) เรื่องต่างๆให้ท่านผู้รักสายพานได้เสพเป็นอาหารสมองเป็นแน่
(รูปแบบการจัดการสายพานส่งถ่ายแบบหนึ่ง)
ของอภัยที่ นาย TCB นอกเรื่องไปเสียนาน ก็ขอเข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน ในหมอสายพานตอนที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา นาย TCB ได้เรียนให้ท่านทราบถึงเรื่อง การหุ้ม Pulley และการหาวัสดุจำพวกแผ่นยาง ที่สามารถป้องกันการขัดสี (Anti-ware rubber) หรืออาจจะใช้วัสดุเป็น Ceramic แทนก็ได้ เพื่อป้องกันความเสียหายของผนัง Chute คราวนี้เราจะมาดูว่า มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะช่วยยืดอายุของสายพานได้อีกบ้าง ขอให้ท่านผู้อ่านละสายตาจากตัวอักษรที่อ่านนี้ไปจ้องตรงรูปภาพ ตรงหมายเลข 3 ก็จะเห็นว่ามีวัสดุเป็นแผ่นๆ แท่งๆ อยู่บริเวณ ส่วนพื้นที่ของการป้อนวัสดุ (Feeding Area)
ก่อนที่เราจะทราบว่าเราควรมีอุปกรณ์ชิ้นนี้หรือไม่ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การออกแบบส่วนการป้อนวัสดุก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ผู้ออกแบบบางท่านอาจเข้าใจผิดว่ารายละเอียดของส่วนนี้ไม่ค่อยน่าสนใจ และไม่มีผลกระทบมากมายกับระบบ แต่ถ้าหากให้พิจารณากันจริงๆแล้วล่ะก็จะพบว่า มันมีส่วนเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียวกับ ปัญหาของการตกกระทบของวัสดุสายพานโดยเฉพาะก้อนวัสดุที่มีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำให้สายพานเสียหายได้ทันทีก็เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันปัญหานี้ได้ หรือทำอย่างไรถึงจะสามารถทำให้การป้อนวัสดุลงบนสายพานเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ หากยังไม่ลืมเสียก่อน นาย TBC จะค่อยๆเรียบเรียงรับใช้ท่านผู้รักสายพานต่อไป
บางครั้ง การปล่อยวัสดุให้ตกลงสู่สายพานโดยตรง ก็เป็นวิธีการที่ยอมรับได้ ถ้าวัสดุที่ปล่อยลงสายพานนั้น มีขนาดเล็กและอัตราการไหลลงก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็จะมีโอกาสสร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่ตัวสายพานได้ ถ้าวัสดุที่ปล่อยมามีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ปนกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีวัสดุที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากปะปนอยู่ และถ้าหากวัสดุเหล่านั้นมีความแข็งและแหลมคมมาก อาจเจาะชั้น Cover ของสายพานทะลุถึงชั้นผ้าใบ จนทำให้เป็นรูได้
ทีมงาน TCB มีงานงานซ่อมแผลสายพานเหล่านี้เป็นร้อยๆแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ (เช่นของ EGAT แม่เมาะ) และในอุตสาหกรรมโรงโม่หิน งานซ่อมแผลสายพานแต่ละแผลมีค่าเป็นพันบาทขึ้นไป ท่านลองคูณจำนวนแผลและค่าซ่อมแต่ละแผลดูก็จะรู้มูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการออกแบบที่ไม่ดีหรือการไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการใช้งานในระบบ
ดังนั้น การติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยแยกให้วัสดุขนาดเล็ก แยกออกจากวัสดุก้อนใหญ่ เพื่อลดการกระแทกของวัสดุก้อนใหญ่ลงบนสายพานโดยตรง จะเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับสายพานได้ อุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่า BAR Screen หรือ Scalping Bar จะติดตั้งที่ด้านล่างของ Chute ก็จะช่วยให้วัสดุที่มีขนาดเล็กหรือละเอียดไหลผ่านและจะเป็นตัวรองรับวัสดุที่เป็นก้อนใหญ่ ไม่ให้กระแทกลงบนปลายสายพานโดยตรง
(เพราะจะตกลงบนกองวัสดุขนาดละเอียด ซึ่งพลังงานการตกของวัสดุก้อนใหญ่จะถูกดูดซับไป โดยวัสดุมวลละเอียดเหล่านี้ ทำให้ไม่มีพลังงานเหลือมากพอที่จะไปเจาะหรือกระแทกสายพานให้ขาด) เท่านี้เอง สายพานของท่านก็จะปลอดภัยจากการเจาะ กระแทก ฉีก ขาด ทะลุ
(รูปแบบการจัดวางรางส่งถ่ายวัสดุแบบหนึ่ง)
ณ วินาทีที่ นาย TCB นั่งเขียนอยู่นี้พอดีน้อง AV ที่เป็นคนนำเรื่องที่นาย TBC เขียนลง web ถามนาย TBC ว่าเมื่อบอกความรู้ลูกค้าหมดแล้วเขาจะจ้างเราหรือ ? นาย TBC ซึ่งเป็นปุถุชนซึ่งยังเสพกิเลสอยู่ก็พลันเกิดความรู้สึกแว๊บหนึ่งสะกิดต่อมกิเลสของนาย TCB ความรู้สึกนั้นเป็นแรงต่อสู้กันระหว่าง ความอยาก (ได้ตังค์) และ การให้ (ความรู้) ในตัวของนาย TCB เอง ไอ้ตัวกิเลสก็ร้องโอดโอยว่า หากนาย TCB บอกเล่าให้ควมรู้แก่ผู้รักสายพานทั้งหลายจนมีควมรู้เพียงพอที่จะปกป้อง และป้องกัน ไม่ให้มีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสายพานแล้วล่ะก้อ ...ถึงตอนนั้น นาย TCB จะมีงานอะไรทำ (หรือจะหาอะไรรับประทานกัน) เป็นความรู้สึกที่ หากจะกล่าวให้ทันสมัยหน่อยก็จะเรียกว่าผลประโยชน์ขัดแย้ง (Conflict of interest) ระหว่างส่วนตัวกับส่วนรวม (คล้ายๆกรณีคนใหญ่คนโตของประเทศสารขันธ์ ที่เพิ่งตกกระป๋องไปเมื่อเร็วๆนี้เหตุเพราะ comflict of interest อันนี้แหละ) จะเลือกอันไหนก่อนดี สำหรับนาย TCB ถึงตอนนี้หัวใจ"ฟันธง"แล้วว่า "ยิ่งให้ ยิ่งได้" ให้มาก..ได้มากเหมือนฝากธนาคารใครมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านใด ก็ควรแจกจ่ายความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ หากใครยิ่งให้โดยไม่หวงความรู้ ก็จะได้รับผลตอบแทนมากมาย เหลือเฟือ เนื่องจากวิบากของการให้ความรู้นั้น มีอานิสงส์ใหญ่หลวง เกินประมาณและจะเห็นผลชัดในเวลาไม่นาน (ใครมีประสบการก็ mail มาบอกมั่ง) ดังนั้น นาย TCB จึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกๆท่านที่มีความรู้เรื่องระบบลำเลียง ช่วยอนุเคราะห์สังคมโดยบอกเล่าความรู้และประสบการณ์ ที่มีประโยชน์ของท่าน ให้คนในสังคมเดียวกันทราบบ้าง นาย TCB จะอาสาเป็นสื่อกลางในการแชร์ความรู้ ณ เว็บ www.thaiconveyorbelt.com แห่งนี้ เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่สังคมผู้รักสายพานของเรา
ความรู้เรื่องจุดปล่อย (Discharging) และจุดป้อนวัสดุ (Loading Area) ยังไม่จบเพียงแค่นี้นะครับ วันนี้ นาย TCB ขอเวลาลำรึกถึงวีระชนเดือนพฤษภาคมซะก่อน แล้วค่อยมาเล่าเรื่องที่น่ารู้อื่นๆให้ฟังต่อไป
ทุภาษิต(ไม่ใช่สุภาษิต) พักสมอง
ท่านทราบหรือไม่ว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของผู้หญิงและผู้ชายจะมีความต่างกันอย่างไร
นาย TCB ขอเฉลยให้ทราบดังนี้
"ผู้ชายพร้อมที่จะจ่ายเงินสองเท่า เพื่อสิ่งที่เค้าต้องการส่วน
ผู้หญิงเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสิ่งที่ลดราคาครึ่งหนึ่ง
แม้ว่าเธอไม่ต้องการมัน"
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......