ประเภทของลูกกลิ้ง (Idler Type)
วันนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานชุดลูกกลิ้งลำเลียง(Idler Set) กันครับ จะว่าไปลูกกลิ้งลำเลียงก็เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในระบบสายพานลำเลียง ดังนั้นเราจึงต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสม จะทำการลำเลียงวัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อันดับแรกเราจะมาดูก่อนว่าลูกกลิ้งลำเลียงมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ลองติดตามดูนะครับ
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของชุดลูกกลิ้งลำเลียง (Idler Set)
ลูกกลิ้งลำเลียงหากแบ่งตามการใช้งานจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- ลูกกลิ้งด้านบรรทุกวัสดุ (Carry Idler)
- ลูกกลิ้งด้านพากลับ (Return Idler).
รูปที่ 2 แสดงตำแหน่งของด้าน Carry และ Return
1.ลูกกลิ้งลำลียงด้านบรรทุกวัสดุ (Carry Idler)
- ลูกกลิ้งลำเลียงแบบทำมุม (Troughing Idler) เหมาะสำหรับการลำเลียงวัสดุประเภทมวล (Bulk Materials) ซึ่งมีลักษณะเป็นผง เป็นก้อน เพราะจะทำให้ขนลำเลียงได้ในปริมาณมาก อีกทั้งลักษณะของลูกกลิ้งรองรับที่ทำมุมโอบรับยังยังป้องกันวัสดุตกออกด้านข้างอีกด้วย
รูปที่ 3 แสดงลักษณะของชุดลูกกลิ้งทำมุม 3 ลูก (Troughing Idler)
รูปที่ 4 แสดงลักษณะของชุดลูกกลิ้งลำเลียงทำมุม 2 ลูก (V - Troughing Idler)
- ลูกกลิ้งลำเลียงแนวราบ (Flat Roller Idler) สามารถลำเลียงวัสดุที่มีลักษณะที่เป็นชิ้นหรือเป็นท่อน เช่น ท่อนไม้ ได้ แต่ก็สามารถลำเลียงวัสดุมวลได้เช่นกันแต่ปริมาณจะน้อยกว่าชุดลูกกลิ้งทำมุม
รูปที่ 5 แสดงลักษณะของชุดลูกกลิ้งลำเลียงแนวราบ (Flat Roller Idler)
2.ลูกกลิ้งลำเลียงด้านพากลับ (Return Idler)
Return Idler มีหน้าที่รองรับสายพานลำเลียงในด้านพาสายพานกลับไปยังจุดขับสายพาน (Drive Unit) ทำให้ Return Idler ถูกติดตั้งอยู่ด้านใต้ของโครงสร้างระบบสายพานลำเลียง ทำให้ไม่ต้องรับภาระน้ำหนักของวัสดุเหมือนกับด้าน Carry Idler ทำให้ return Idler มีขนาดโครงสร้างที่เล็กกว่า
รูปที่ 6 แสดงลักษณะของ Return Idler แนวราบ
รูปที่ 7 แสดงลักษณะของ Return Idler แบบทำมุม
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”