General Types of Idler
Q : คุณ TCB ช่วยเล่าง่ายๆให้ฟังหน่อยว่าลูกกลิ้ง(Idler) มีกี่ประเภทครับ
A : เอาแบบพื้นฐานเลยนะ เราแบ่งลูกกลิ้งตามการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ลูกกลิ้งลำเลียงด้านบรรทุกวัสดุ (Carry Idler)
2.ลูกกลิ้งด้านย้อนกลับ (Return Idler)
ต่อจากนี้ไปจะเรียกทับศัพท์เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า carry idler , return idler
Q : ช่วยเล่ารายละเอียดเพิ่มเติม ของ carry Idler ให้ทราบหน่อยได้ไหมครับ
A : โดยทั่วไป carry idler นั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดตามการใช้งานอีกคือ
1. ลูกกลิ้ง (Flat Idler) จะยึดติดกับโครงสร้างด้วย Bracket เป็นลูกกลิ้งที่ใช้งานในแนวราบ
Flat Idler
2. ลูกกลิ้งแอ่ง (trough Idler) ใน 1 set จะมีลูกกลิ้งตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไป ติดตั้งเอียงทำมุมโอบกับ
สายพานลำเลียง ทำให้ขนวัสดุได้ในปริมาณมากขึ้น และยังสามารถกระจายน้ำหนักได้ดีอีกด้วย
Trough Idler
Q : แล้ว Return Idler ล่ะครับ
A : Return Idler จะเป็นลูกกลิ้งทรงกระบอก ติดตั้งอยู่ด้านล่างของโครงสร้าง ทำหน้าที่รองรับสายพาน ด้านหมุนกลับ เพื่อไม่ให้สายพานลงไปลากกับพื้น return idler มีหน้าที่ต่างจาก carry ตรงที่ไม่ได้รับน้ำหนักของวัสดุโดยตรง แต่รับน้ำหนักสายพาน
Return Idler
ปกติแล้ว return idler จะมีลักษณะเป็น Flat Idler ติดตั้งในแนวราบ แต่ก็มีบางช่วงที่ใช้เป็นรูปตัว V เพื่อให้สายพานวิ่งได้ตรงแนวยิ่งขึ้น หรือ กรณีที่สายพานมีน้ำหนักมากๆครับ
V – Return Idler
Trough Corry Idler
Q : คุณ TCB ทำไมเขาถึงนิยมใช้ ลูกกลิ้งแอ่ง (Trough Idler) มากกว่าลูกกลิ้งแบบแบนราบ(Flat Idler) กันล่ะครับ
A : อ่อ ... เป็นเรื่อง Common sense ครับ ลองจินตนาการดูว่า เมื่อสายพานบรรทุกวัสดุอยู่บนลูกกลิ้งแอ่ง จะสามารถบรรทุกวัสดุได้มากกว่า ลูกกลิ้งทรงกระบอกในแนวราบอย่างแน่นอน เมื่อความเร็วของสายพาน และหน้ากว้างสายพานเท่ากัน ก็ต้องเลือกสิ่งที่เปรียบเทียบแล้วจ่ายถูกกว่า แต่ทำงานได้มากกว่าอย่างแน่นอนใช่ไหมครับ
CY : จริงๆแล้วมันใช้งานคนละหน้าที่กันครับ(ขอแย้งหน่อย)
- ลูกกลิ้งแนวราบ (Flat Idler) สามารถขนลำเลียงวัสดุที่เป็นชิ้น และมีขนาดยาวๆได้ เช่น ท่อนไม้ และวัสดุที่มีการรวมหน่วยบรรจุแล้ว ฯลฯ สามารถขนวัสดุมวลได้เช่นกันแต่จะมีปัญหาเรื่องวัสดุตกหล่น ดังนั้นต้องทำบ่าราง (Rail) เพื่อป้องกันวัสดุตกหล่นออกจากด้านข้างเพิ่มเข้ามา
- ลูกกลิ้งแอ่ง (Trough Idler) จะเหมาะกับการขนลำเลียงวัสดุมวล (Bulk Materials) เช่น ก้อนหิน แร่ วัสดุผง เป็นต้น ด้วยลักษณะของการวางตัวของสายพานในแนวโค้งตามมุมโอบของชุดลูกกลิ้ง จะทำให้ขนลำเลียงวัสดุได้ในปริมาณมากกว่า ทั้งยังป้องกันการหกของวัสดุจากด้านข้างได้ด้วย เพราะสายพานจะโอบพื้นที่ด้านข้างของวัสดุเอาไว้
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศไทย นิยมใช้ Belt Conveyor ในการขนลำเลียงวัสดุประเภทวัตถุดิบ เชื้อเพลิง และเศษวัสดุ ดังนั้นวัสดุที่ว่ามาทั้งหมดถือว่าเป็น Bulk Materials ทำให้โรงงานส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้ลูกกลิ้งแอ่งครับ
Q : ผมเห็นว่าลูกกลิ้งแอ่งนั้นมีประโยชน์มากกว่า แต่ผมก็ยังไม่รู้ว่า ลูกกลิ้งแบบแอ่งมันเอียงได้กี่องศาครับ
A : สมัยก่อนตั้งแต่แรกเริ่ม ระบบสายพานใช้ลูกกลิ้งที่มีความเอียง 20 องศาเป็นพื้นฐาน ปัจจุบันเนื่องจากการมีการพัฒนาการออกแบบลูกกลิ้งแอ่งให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น Trough Idler ของ CEMA จะมีให้เลือกใช้งานได้ทั้งแบบ 20,35,45 องศา ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตสายพาน ได้คุณภาพดี มีความยืดหยุ่นสูง โดยเฉพาะวัสดุที่ให้ความยืดหยุ่นทางขวาง (Transverse) ของหน้าตัดสายพาน ดังนั้นปัจุจบันลูกกลิ้งที่มีมุมเอียง 35 องศา จึงถูกนำมาใช้มาแทนลูกกลิ้ง 20 องศาแบบเดิมได้เกือบทั้งหมด
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”