ประเภทของอุปกรณ์ปรับความตึง (Belt take-Up Cy)
วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง อุปกรณ์ปรับความตึงสายพาน (Belt Take-Up)กันครับ จะมาดูกันว่าจริงๆแล้วเจ้า Belt Take Up มันมีกี่ประเภท และในแต่ละประเภทมันทำงานกันยังไง โดยเราจะขอแนะนำเฉพาะแบบที่มีใช้กันในอุตสาหกรรมในประเทศไทยก่อน ลองติดตามดูนะครับ
1. Snub Pulley จะเป็นการปรับความตึงของสายพานลำเลียงด้วยตัว Snub ซึ่งเป็นพูเลย์เช่นเดียวกับตัวขับและตัวตาม แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า โดย Snub จะดันสายพานขึ้นให้เกิดมุมโอบรอบพูลเลย์ขับมากขึ้น ( ปกติจะมีมุมโอบ (Wrap Angle) อยู่ที่ 180° - 240° ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้งาน )
รูปที่ 1 แสดงลักษณะก่อนการใช้ Snub Pulley (มุมโอบ 180°)
รูปที่ 2 แสดงลักษณะหลังการใช้ Snub Pulley (มุมโอบ 240°)
กรณีที่ใช้ Snub Pulley ในการปรับความตึงสำหรับระบบสายพานที่ไม่มีการเก็บความยาวของสายพานไว้มากๆ โดยปกติจะนิยมติดตั้งไว้บริเวณใกล้ๆกับ Drive Pulley
2. Screw Take-Up เป็นระบบปรับความตึงที่ ใช้ชุดรางเลื่อนที่ปรับตำแหน่งด้วยสลักเกลียว(Screw) โดยจะทำเป็นรางเลื่อนเพื่อวาง Bearing Housing ไว้บนรางเพื่อให้ตำแหน่งของพูลเลย์สามารถเลื่อนไปมาได้ ส่วนระยะในการปรับความตึงก็จะเท่ากับร่องระยะความยาวของ Screw ตัวปรับนั่นเอง
รูปที่ 3 ลักษณะของ Screw Take-Up
รูปที่ 4 ลักษณะของ Screw Take-Up
กรณีที่ใช้
Screw Take-Up ในการปรับความตึงสำหรับระบบสายพานที่ไม่มีการเก็บสายพานไว้มากๆ
ปกติจะนิยมติดตั้งไว้กับพูลเลย์ตัวตาม (Tail Pulley)
3. Weight Take-Up เป็นอุปกรณ์ปรับความตึงที่มีการติดตั้ง “ตุ้มถ่วง” เพิ่มเข้าไปในระบบสายพาน
จะนิยมใช้กับระบบสายพานที่มีการเผื่อความยาวสายพานไว้มากๆ
3.1 Gravity Take-Up เป็น Take-Up แบบปรับความตึงอัตโนมัติโดยจะมีตุ้มถ่วงแขวนอยู่ในแนวดิ่ง น้ำหนักของตุ้มถ่วงจะทำให้สายพานมีความตึงตลอดเวลา การกำหนดขนาดของตุ้มถ่วงนี้จำเป็นต้องมีการคำนวณมาอย่างดีมิเช่นนั้นอาจเกิดอันตราย เพราะความแข็งแรงของสายพานทนแรงดึงของน้ำหนักของตุ้มถ่วงไม่ได้
รูปที่ 4 ลักษณะของ Gravity Take-Up
3.2 weight Take-Up เป็นระบบที่ติดตั้งชุดเลื่อนตำแหน่งเข้าไปที่ตัว Tail Pulley ด้วย เพื่อให้ Tail Pulley สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ โดยการเลื่อนตำแหน่งของ Tail Pulley จะเกิดจากน้ำหนักของตุ้มถ่วงที่พยายามจะตกลงไปในแนวดิ่งด้านล่างดังรูปที่ 4 กรณีนี้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของตุ้มถ่วงได้ด้วย
รูปที่ 5 ลักษณะของ Weight Take-Up
รูปที่ 6 ลักษณะของการติดตั้ง Weight Take-Up
4. Power Take-Up เป็นระบบปรับความตึงที่มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ Weight Take-Up
แต่แตกกันเพียงต้นกำลังที่ใช้ในการดึงไม่ใช่ตุ้มถ่วง แต่เป็นชุดรอกและสลิงดึงแทน ระบบนี้จะควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าทำให้สามารถควบคุมการปรับระยะความตึงได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Power Take-Up ยังแบ่งออกเป็นเป็น
4.1 Automatic tension Controling Type Take-Up system (Power Take-Up)
รูปที่ 7 ลักษณะของ Power Take-Up
4.2 Power Take-Up System & Tension detector
รูปที่ 8 ลักษณะของ Power Take-Up
เป็นอย่างไรบ้างครับ หลังจากอ่านบทความวันนี้แล้ว คิดว่าท่านคงมีความเข้าใจในเรื่อง อุปกรณ์ปรับความตึงของสายพาน ขึ้นบ้างนะครับ TCB จะพยายามเสาะหาความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากท่านเรื่อยๆ หากท่านอยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถ E-mail มาคุยกันได้นะครับ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......