สายพานไทยคือ มืออาชีพของการต่อสายพาน (Belt splicing) อย่างแท้จริง
บริษัทสายพานไทยกล้าพูดดังๆว่าเราคือ "มืออาชีพ" ของการต่อสายพานทั้งแบบ fabric และ steel cord เพราะเราทำงานประเภทนี้ทุกวันต่อเนื่องกันเป็นเวลาสิบๆ ปี นอกจากช่างของเราจะมีความชำนาญแล้ว เรายังสั่งสมเทคนิคความรู้ต่างๆมากมายเมื่อท่านต้องการต่อสายพานครั้งต่อไปลองสอบถามผู้ให้บริการต่อสายพานของท่านในปัจจุบัน ด้วยคำถามต่อไปนี้
1. ต้องยก Counter Weight สูงเท่าไหร่ ระยะที่น้อยที่สุดเหลือเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อสายพาน
2.ต่ออย่างไรรอยต่อถึงจะไม่สะดุด scraper
3.ถ้าตำแหน่งต่อสายพานอยู่ด้าน carry เมื่อเปิด step ของผ้าใบต้องเอาด้านบางทับด้านหนาหรือด้านหนาทับด้านบางและ หรือในทางกลับกัน ถ้าตำแหน่งต่อสายพานอยู่ช่วง return ต้องเอาด้านหนาทับด้านบาง หรือด้านบางทับด้านหนา เพราะอะไร? ถ้าทำผิดอะไรจะเกิดขึ้น?
4.ความยาวของสายพานที่มีอยู่เพียงพอสำหรับต่อเย็น แต่ยาวไม่พอสำหรับต่อร้อนเพราะอะไร? ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
5.ต้องเอาเครื่องมืออะไรขัดหยาบผิวหน้าของผ้าใบ เพื่อไม่ให้ผ้าใบไหม้ เอ๊ะ!ถ้าไหม้แล้วมีผลเสียอย่างไร ?
6.เมื่อจำเป็นสายพานต่างขนาดกัน ทั้งความหนา ทั้งจำนวนชั้นผ้าใบและความกว้างของสายพานก็ไม่เท่ากัน จะสามารถต่อกันได้มัย? และถ้าต่อได้จะมีวิธีการต่ออย่างไร?
7.การกะระยะยกของ Counter Weight ให้เพียงพอสำหรับต่อสายพาน กรณี Layout ของ conveyor ที่เป็นลักษณะ convex curve และ concave curve ต่างกันหรือไม่? และควรจะยก counter weight อย่างไรในแต่ละกรณี?
8.หากพลาดทำให้ผ้าใบด้านขวาง หรือด้านยาวขาด ความแข็งแรงของรอยต่อจะลดลงต่างกันหรือไม่ ? และลดลงประมาณเท่าไร? และแผลขาดด้านไหนที่ควรระมัดระวังที่สุด ?
9.ถ้าสายพานของท่านเป็นสายพานชนิดพิเศษ เช่น ทนความร้อนทนน้ำมันทนสึกหรอหรือเป็นชนิด anti-static ต้องใช้ splicing kit ชนิดไหน ?ถึงจะเหมาะสม? ใช้แบบเดิมที่เคยใช้เป็นประจำใช้ได้หรือไม? Splicing kit ที่ผสมกันแล้วทิ้งไว้ได้นานแค่ไหน จึงจะไม่เสื่อมคุณภาพ ?
10.สายพานหนาบางต่างกัน ต้องใช้อุณหภูมิความดัน และวลาในการ curing ต่างกันหรือไม่?
11.กรีดสายพายอย่างไร ถึงจะไม่ให้ชั้นผ้าขาด ใช้อะไรกรีดดีนะ? ถ้าสายพานขาดจะทนแรงดึงได้มากน้อยแค่ไหน ?
12.และมีอีกหลายสิบคำถามที่ไม่สามารถนำมาเสนอให้ครบถ้วนได้ ทั้งนี้ล้วนแต่เป็นความรู้ด้านเทคนิค และต้องการคนมีทักษะเท่านั้นที่จะทำให้ดีได้
ลองสอบถามผู้ให้บริการท่านอยู่ในปัจจุบัน หากตอบคำถามได้ถูกต้องแค่ครึ่งเดียว ก็พอเชื่อได้ว่าได้รับการอบรมมาบ้าง ใช้บริการเขาต่อไปเถอะครับ แต่ถ้าคำตอบเป็นที่ไม่น่าพอใจ step ต่อไปท่านเท่านั้นที่จะรู้ และเป็นคนตัดสินใจ
สรุป การต่อสายพานที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยที่ดีต่อไปนี้
1.ช่างต้องมีทักษะ มีความรู้ดี ถูกต้อง และได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
2.เครื่องมือที่ใช้ต้องมีสภาพที่สมบรูณ์สามารถให้ความร้อนและความดันที่ถูกต้องเหมาะสม
3.วัสดุอุปกรณ์ในการต่อสายพาน (splicing kit) ต้องถูกต้องกับชนิดของสายพาน เช่น ทนร้อน ทนน้ำมัน anti-static ฯลฯ และต้องเก็บรักษาไว้อย่างถูกวิธีก่อนนำมาใช้
4.ขบาวนการทำงาน (process) และวิธีการปฎิบัติงาน (procedure)ต้องถูกต้องตามมาตราฐานที่กำหนดของ DIN ,ASTM และฯลฯ
ถ้าท่านต้องการความมั่นใจ เรียกใช้สายพานไทย ไม่ผิดหวังแน่นอน เรากล้ายืนยัน ช่างของเรามักมีความรู้และความชำนาญเพียงพอ แม้ว่าหากต้องแก้ปัญหาในกรณีฉุกเฉิน เช่น เมื่อมิเตอร์วัดความดันใช้งานไม่ได้กระทันทันหันด้วยมือเปล่าๆ ของคุณธนิกรณ์ คุณธนวัฒน์ คุณมนตรี คุณฉัตรชัย คุณจีระศักดิ์ ฯลฯสามารถประมาณค่าความดันที่ใช้งานได้ จากความ แข็ง
ของสาย Hydraulic (โดยวิธีกดรับความรู้สึก) เพื่อจัดการงานให้เสร็จลุล่วงไปได้ และที่สำคัญ งานทุกชิ้นที่สายพานไทยได้รับใช้ท่าน มีการประกันผลงาน สายพานใหม่รับประกันรอยต่อ 1 ปี สายพานเก่าระยะเวลารับ ประกันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพของสายพานแต่ละเส้น
**มั่นใจแล้วใช่มั๊ยครับรีบโทรมาหาเราซิครับ**
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......