มาเลือกความหนาและเกรดของสายพานให้เหมาะสมกันดีกว่า
เมื่อทีมของ TCB ไปให้บริการลูกค้า มีคำถามหนึ่งที่ลูกค้าถามบ่อยๆ คือ ความหนาและเกรดของสายพานที่เหมาะสม จากบทความตอนที่ 1 เรื่องการเลือกสายพาน เราได้รู้กันอย่างคร่าวๆแล้วว่า เมื่อเราทราบชนิดของวัสดุที่จะลำเลียง ทราบความเร็วของสายพาน นำความสัมพันธ์ทั้ง 2 อย่าง ไปเปิดตาราง เราก็พอจะหาความกว้างที่เหมาะสมของสายพานเพื่อใช้ขนส่งวัสดุ ให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการได้อย่างคร่าวๆ เมื่อได้ความกว้างแล้ว เรื่องที่จะหาต่อไปก็คือ เราจะเลือกความหนาของสายพานอย่างไรดี
ดังนั้น บทความนี้จะลงลึกในรายละเอียดว่า เราควรเลือกความหนาของยางผิวบน (TOP COVER) และยางผิวล่าง (BOTTOM COVER) ของสายพานผ้าใบอย่างไรดี เอาง่ายๆ ชนิดที่นำไปใช้งานได้เลย เพราะ เราๆท่านๆที่กำลังอ่านบทความนี้ ส่วนใหญ่แล้วคงเป็นผู้ใช้งาน มากกว่าเป็นครูบาอาจารย์ ดังนั้น อะไรที่เป็นพื้นฐานง่ายๆ มีความถูกต้องพอประมาณ เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ ของคนหมู่มากก็จะง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้ง่าย น่าจะมีประโยชน์มากกว่าอะไรที่สมบูรณ์ทุกอย่าง วิเคราะห์แล้ว วิเคราะห์อีกจนเส้นรอยหยักในสมองขาดกระจุยก็ยังนำมาใช้งานไม่ได้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ใช่มั๊ยครับ
นาย TCB อยากจะขอรบกวนท่านทบทวนความรู้กันนิดหนึ่งว่า ผิวยางด้านบน มีหน้าที่รองรับวัสดุที่ขนถ่าย และช่วยป้องกันความเสียหายของชั้นผ้าใบ อันอาจเกิดจากแรงกระแทก แรงเสียดสี การเจาะทะลุ หรือในบางกรณีจะต้องมีคุณสมบัติป้องกันความร้อน และป้องกันน้ำมัน และ ฯลฯ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผิวยางที่บริษัทฯผู้ผลิต ผสมปรุงแต่งขึ้นมาตามความต้องการของท่านที่จะนำไปใช้งานตามความเหมาะสม
ส่วนผิวยางด้านล่าง ก็มักจะเป็นวัสดุเช่นเดียวกับผิวยางชั้นบน มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับลูกกลิ้งและพูเลย์ ดังนั้น เมื่อทราบหน้าที่ของทั้งผิวยางด้านบนและผิวยางด้านล่างแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ความหนาของยางชั้นบนมีความหนากว่าผิวยางชั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะผิวยางชั้นบน มีภาระหนักในการทำงานมากกว่าผิวยางด้านล่างนั่นเอง
ในทางปฏิบัติหรือทางทฤษฎีก็แล้วแต่ การเลือกความหนาผิวยางทั้งบนและล่าง เป็นเรื่องที่กำหนดให้ถูกต้อง ตายตัวได้ยากมาก เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปร ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ต่างก็เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละแห่ง เปลี่ยนไปตามชนิด ขนาดและปริมาณของวัสดุที่ขน ความเร็ว รูปแบบอุปกรณ์ในระบบขนถ่าย รวมทั้งเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานและอื่นๆอีกมาก ไม่มีครั้งไหนเลยที่ตัวแปรเหล่านั้นจะหยุดนิ่ง และตายตัวให้เราสามารถเลือกได้ง่ายๆตามตำรา
ดังนั้น ถ้าเราสมมุติว่า ในสภาพการใช้งานที่มีตัวแปรเหมือนกันทุกประการ ผิวยางที่มีความหนามากกว่า ย่อมมีอายุการใช้งานที่นานกว่า แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ให้พิจารณาความหนาจากตารางข้างล่างประกอบการพิจารณาด้วยครับ
CEMA เขาก็ได้สรุปว่า

มีเรื่องที่จะเรียนท่านต่ออีกนิดนึงว่า ในกรณีที่สายพานของท่านเป็นชนิด Heat Resistance อายุการใช้งานของสายพานจะขึ้นอยู่กับความหนาของผิวยาง มากกว่าสายพานชนิดอื่นๆ ถ้ามีงบประมาณมากหน่อยก็ควรเลือกความหนาให้หนามากกว่าปกติจึงจะดีครับ ซึ่งการเลือกเลือกผิวยางของสายพานชนิด Heat Resistance สามารถดูได้จากตารางด้านลางนี้ ได้เลยครับ

เพื่อไม่ให้มิตรรัก แฟนรายการขาดทุนกำไร (อ่านเรื่องของนาย TCB แล้วไม่เคยขาดทุนแน่ มีแต่กำไร แต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง อิอิ) นาย TCB ก็เลยหาความรู้ การเลือกเกรดของสายพานให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยนำข้อมูลมาจากผู้ผลิตสายพานในประเทศ โดยอ้างอิงมาตรฐานของตางประเทศมาให้มิตรรักแฟนรายการ ผู้รักสายพานทั้งหลายได้ทัศนาโดยพลัน

ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการเลือกใช้สายพานที่มีเกรดและความหนาที่ถูกต้องนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจากนาย TCB
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......