เสียดสี (abrasion) ขัดถู (Rub) ตัด (cut)และเจาะ (gouge) ป้องกันได้อย่างไร???
วันนี้วันที่ 8 มิถุนายน 2550 นาย TBC นั่งคิดว่าวันนี้จะรับใช้ท่านผู้รักสายพานเรื่องอะไรดีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะนาย TBC ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองเป็นคนมานั่งเขียนหนังสือแบบที่ว่านี้เนื่องจากรู้ตัวเองดีว่ามีความรู้จำกัดสั้นยิ่งเสียกว่าหางอึ่งอ่างเสียอีกขณะที่มีความโง่สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ทุกครั้งที่เกิดอาการไม่น่าพิสมัยอย่างนี้คำพูดของ MD เจ้านายของนาย TBC จะผุดขึ้นมาเตือนเหมือน pop up ใน web page ที่วิ่งตามคุณตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะเลื่อนเคอเซอร์ขึ้นหรือลง ฟังนะนาย TBC "หยิบดินสอหรือปากกาขึ้นมา เขียนอะไรก็ได้ที่คุณอยากเขียน ความรู้ในหัวจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำ คุณจะรอให้ทันผุดขึ้นมาเองเหมือนหน่อไม้ไม่ได้หรอกความคิดที่ไม่มีการลงมือทำ เหมือนคุณแต่งตัวเต็มยศ แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนนั่นแหละ"
เมื่อนาย TBC ตอบว่า "ผมไม่เคยเขียน ความรู้จำกัด และก็ไม่ชอบเขียนด้วย ขออนุญาตตั้งทีมงานช่วยกันเขียนเถอะ"
MD " ผมไม่แคร์หรอกว่า คุณจะปฎิเสธด้วยเหตุผลอะไร แต่ผมมั่นใจว่าคุณเป็นนักแก้ปัญหา อาชีพของคุณไม่มีชื่อ ไม่มีคำจำกัดความไ ม่ระบุความรู้ไ ม่มีตำแหน่งและ ไม่มีคำอธิบายลักษณะงาน (job description) ไม่มีนักชกอาชีพคนไหนหรอกที่ให้คนอื่นขึ้นเวทีต่อยแทน คุณลุยไปก่อนเดี๋ยวจะมีพรรคพวกแห่มาช่วยเองนั่นแหละ"
ผมต่อยมาหลายยกแล้ว มองซ้ายแลขวา เริ่มจะเห็นเงาราวๆของพรรคพวกแล้ว ยังรอนิดนึงว่าเมื่อไรจะแห่(ส่งเสียง)มาช่วยผมบ้าง "หยิบดินสอหรือปากกาขึ้นมา เขียนอะไรก็ได้ที่คุณอยากเขียน...." เร็วเข้าน้อง AV ช่วยพี่ด้วย
"สายพานยี่ห้อนี้ทนมั๊ย ดีมั๊ย ??? ทำไมใช้แป๊ปเดียวเดี๋ยวก็เจ๊งแล้ว? เป็นคำถามที่ทีมงานของชาว TBC ได้รับการสอบถามอย่างส่ำเสมอ แต่คำถามทั้งหลายแหล่ ผู้ถามมิได้ให้คำอธิบายอย่างละเอียดว่า ความเสียหายของสายพานนั้นมีลักษณะอย่างไร รูปแบบและวิธีการใช้งาน ตลอดจนมีการบำรุงรักษาระบบสายพานลำเลียง ดีหรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ยังต้องมีองค์ประกอบอีกมากมายที่จำเป็นจะต้องรู้ก่อนที่จะตอบว่าสายพานยี่ห้อนี้ดีหรือมั๊ย ทนมั๊ย ? ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องว่าสายพานที่ดีนั้น นอกจากชั้นผ้าใบมีความสามารถรับแรงดึงได้โดยสายพานไม่ขาดแล้ว ความทนทานของผิวหน้ายาง (cover) ต่อการเสียดสี (abrasion) การฉีกขาด (cutting) การเจาะ (gouging) เป็นประเด็นสำคัญที่จะเป็นคำตอบว่า สายพานยี่ห้อนี้ทนมั๊ย ยี่ห้อนี้ดีมั๊ย?
คำตอบ "สายพานที่ดีนั้น ต้องค่อยๆ สึกหรอ (smooth wear) เรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งผิวหน้า ตามเวลาของการใช้งาน ยิ่งการสึกหรอเกิดขึ้นช้าขึ้นเท่าไร เราก็จะถือว่าสายพานยี่ห้อนั้นดีเท่านั้น "
ในการใช้สายพานโดยทั่วไปนั้น เราจะแบ่งประเภทการสึกหรอออกได้ง่ายๆ สักสองแบบตามสาเหตุที่ทำให้สายพานสึกหรอ
ประเภทแรกผิวของสายพานสึกหรอ เนื่องจากผิวหน้า (cover) ของสายพานขัดสีกับวัสดุ (material rubbing) หากการสึกหรอประเภทนี้เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างสม่ำเสมอ และเกิดขึ้นทั่วทั้งหน้าของสายพานด้วยอัตราที่ยอมรับกันได้ของผู้ใช้ ก็ถือว่าสายพานยี่ห้อนั้นเส้นนั้น อยู่ในขั้นที่คบหาสมาคมกันต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณาปัจจัยอื่น
พ่วงเข้าไปด้วย เช่น สายพานที่บรรทุกถ่านหิน (coal) ซึ่งตัววัสดุเอาจะไม่มีความแหลมคมนัก เมื่อเปรียบเทียบกับ สายพานขนิดเดียวกันที่บรรทุกหินแข็ง (Hard rock) ที่มีขนาด
ใหญ่และแหลมคม แน่นนอนว่าสายพานเส้นหลัง ย่อมเสียหายและต้องเปลี่ยนก่อนสายพานเส้นแรก แต่มิได้หมายความว่าสายพานเส้นหลังไม่ดีเมื่อเทียบทานสายพานเส้นแรก นอกจากนี้ความเร็วของสายพาน น้ำหนักของวัสดุ ตลอดจนการบำรุงรักษาระบบลำเลียงที่ถูกต้อง ก็เป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับความทนทาน ของการใช้งานสายพานทั้งสิ้น
ประเภทที่สองของความเสียหายของผิวสายพาน ก็มาจากเกิดการฉีกขาด (cutting) หรือเจาะ (gouging) ของวัสดุที่มีความแข็งและแหลมคม เข่น หินแกรนิต limestone หรือสินแร่ประเภทต่างๆ ที่ตกจากที่สูง กระทบกับผิวสายพานทำให้ผิวสายพาน มีรอยฉีดขาดหรือบางครั้ง ส่วนของผิวสายพานอาจถึงกับหลุดออกมา ความเสียหายอาจอาจลามถึงชั้นผ้าใบ บางครั้งชั้นผ้าใบอาจขาด ถึงกับเจาะทะลุสายพานเป็นรูได้ ทีมงานของสายพานไทย ได้รับการว่าจ้างให้ซ่อมความเสียหายของสายพานประเภทนี้บ่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมโรงโม่และย่อยหิน ที่จะนำหินมาทำเป็นซีเมนต์หรือหินผสมคอนกรีต ดังนั้นท่านต้องระมักระวังให้ดี หากเกิดมีแผลบนสายพาน แล้วต้องรีบซ่อมก่อนที่มันจะลุกลาม จนถึงชั้นผ้าใบขาด เพราะถ้าถึงขั้นนั้นล่ะก็จะอันตรายมากเพราะแรงดึงทำให้สายพานขาดทั้งเส้นได้
คำถามต่อมาก็มักจะถามว่า อ้าว! แล้วอย่างนี้จะป้องกันได้อย่างไรล่ะ? เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของสายพานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น คำตอบคงป็นเรื่องยาวนานยิ่งกว่านิยายเรื่องเพชรพระอุมาเสียอีก นาย TBC ก็เลยขออนุญาตสรุปย่อว่า จากจุดยืนและมุมมองของการยืดอายุการใช้งานของสายพานเน้นเฉพาะเรื่องการเสียดสี (abrasion) อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับชนิดและเกรดของวัสดุ ที่นำมาผลิตเป็นผิวหน้าของสายพาน นาย TBC ขอให้หลักการและคำแนะนำแล้วให้ท่านไปคิดต่อเอาเองดังนี้
1.ยิ่งความเร็วของสายพานมีมากเท่าไหร่ สายพานก็สึกหรอ (wear) มากเท่านั้นเนื่องจากวัสดุตกลงบนสายพาน มันจะหมุนกลิ้งและขัดสีกับสายพาน จนกว่าความเร็วของมันจะเท่ากับสายพาน ยิ่งความเร็วสัมพัทธ์ (relative speed) ระหว่างวัสดุและสายพานแตกต่างกันมากเพียงใด ความสึกหรอของผิวหนังก็จะมากขึ้นเพียงนั้น...ถามว่า ท่านจะแก้ปัญหานี้อย่าง
ไร?...อ๋ออ่าน website tcb@thaiconveyorbelt.com แล้วจะรู้เอง
2.ยิ่งสายพานสั้น (center to center) เท่าใดความสึกหรอก็จะมากขึ้นเท่านั้น....เพราะอะไร?...อ๋อ...ตัวนี้ก็เพราะ cycle time ( รอบการทำงาน) มันสั้นนั้นเองแหละ แน่นอนเพราะสายพานทำงานหนักขึ้น แก้ปัญหานี้อย่างไร เพิ่มเกรดสายพาน? เพิ่มความหนาสายพาน? แล้วอะไรอีกดีน๊า?
3.มุมเอียง (incline angle) ของจุดป้อน (loading point) ยิ่งชันมากความสึกหรอก็มากเพราะอะไร?...อ๋อ...เพราะวัสดุที่ตกลงมาย่อมมีความเร็วสูงมันก็จะเข้ากับความเสียหายในข้อ 1 นั่นแหละ
4.มุมป้อนวัสดุของ chute ยิ่งสูงมาก ความสึกหรอก็สูงมากตาม เนื่องจาก chute ที่สามารถป้อนวัสดุในความเร็วที่แนวราบใกล้เคียงกับความเร็วของสายพานมากเท่าไหร่ ย่อมทำความเสียหายแก่สายพานน้อยเท่านั้น
5.จุดที่วัสดุตกลงบนสายพาน ยิ่งสูงมาก สายพานก็ยิ่งเสียหายมาก (ชัวร์อยู่แล้ว)
6.จุดป้อน (feed) วัสดุจาก conveyor ตัวหนึ่งไปอีกยัง conveyor อีก line หนึ่ง ลักษณะการวางตัวของจุดป้อนต่างกัน ผลเสียหายของสายพานย่อมต่างกันโดยจุดป้อนที่อยู่ในแนวเดียวกัน(in line) ย่อมทำความเสียหายน้อยกว่าจุด (feed) ที่ทำมุมกัน
7.ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน (Belt cleaner) ต้องปรับแต่งให้ดี ถ้าตั้งใบปาดห่างมากก็จะทำความสะอาดสายพานได้ไม่ดี แต่ถ้าตั้งใบปาดชิดกับสายพานมากเกินไป ก็จะทำให้ผิวหน้าสายพานเสียหายได้
นาย TBC มีข้อแนะนำเพิ่มเติมอีก หากวัสดุที่ลำเลียงเป็นก้อนใหญ่และแหลมคมย่อมสามารถทำอันตรายและทำความเสียหายให้แก่สายพานได้มากยิ่งขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหานี้จึงขอให้คำแนะนำมีดังนี้
1.ใสอุปกรณ์ (Baffle) ลดความเร็วของวัสดุใน chute หากวัสดุนั้นตกจากที่สูง เพื่อลดความเร็ว (speed) และพลังงาน (impact energy) ของวัสดุที่ตกกระทบสายพาน
2.ใส่ screen ใน chute เพื่อให้วัสดุเม็ดละเอียดตกไปรองรับวัสดุก้อนใหญ่ก่อนตกกระทบสายพาน เพื่อลด impact energy และปกป้องผิวสายพานม่ให้เสียหาย
3.พิจารณาติดตั้ง impact ldle เพื่อลดความเสียหายของสายพาน แทน impact bed เพราะว่าเมื่อวัสดุตกกระทบสายพานจะสามารถเคลื่อนที่หรือมีช่องว่างสำหรับยืดหยุ่นได้มากกว่า
นาย TBC ใชเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งเมื่อเขียนบทความถึงตอนนี้ พลันนึกถึงคำพูดของ MD "อาชีพของคุณไม่มีชื่อ ไม่มีคำจำกัดความไ ม่ระบุความรู้ ไม่มีตำแหน่งและไม่มีคำอธิบายลักษณะงาน" นาย TBC เลยอยากจะขอกระซิบบอก MD ดังๆว่า "ขอบคุณครับเจ้านายที่ทำให้ไม่มีชื่อผมบน Organization ของบริษัท ถึงผมไม่เก่งแต่ผมก็เต็มใจทำทุกๆเรื่องรับ
ใช้ทุกๆ ท่าน หวังว่าอาชีพนี้คงเป็นงานที่มั่นคงที่สุดในบริษัทฯ ได้ แต่ตอนนี้ขอออกก่อนเวลางาน ไปหาของหวานๆ รับประทานเสียก่อนนะครับ แฮ่ะๆ...สวัสดี"
ป.ล. แถมท้าย มีการทดลองหาค่าความสึกหรอของ cover เรียกว่า "DIN abrasion test method" คือ DIN 53516 และ ISO 4649 ซึ่งนาย TBC จะไม่นำมารับใช้ในที่นี้ ใครสนใจลองหาดูกันเองนะครับ
บทฆ่าความคิดสร้างสรรค์
1.ไม่อยู่ในงบของเรา
2.ไม่มีทางที่เจ้านายจะยอมทำแบบนั้น
3.ความคิดเยี่ยมมาก! ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูเรื่องนี้เถอะ
4.ไม่มีทางทำได้
5.มันขัดกับนโยบายของเรา
6.เราจะให้ใครทำดีละ
7.เก็บไปคิดสักพัก
8.ไว้คุยกัยคราวหน้า
9.ไปยุ่งกับมันทำมัย
10.สายเกินกว่าจะแก้แล้ว
11.ยังไม่ถึงเวลาแก้
12.เราทำแบบนี้มากหลายปีแล้ว เรายังมีกำไร
13.จะซ่อมทำไม?ถ้ามันไม่พัง
14.เราลองทำเมื่อห้าปีก่อนแต่มันใช้ไม่ได้
15.ที่นี่ไม่ทำกันแบบนี้
16.ความคิดแบบนั้นทำให้คนที่อยู่ก่อนคุณต้องออกไป
17.ต้องใช้เวลานานในการศึกษาความคิดอันนี้
18.ไม่ใช่งานของฉัน
19.คู่แข่งทำแบบนั้นแล้ว
20.คู่แข่งเขาไม่ทำแบบนั้น
21.ให้คู่แข่งลองทำไปก่อนแล้วรอดูว่าเกิดอะไรขึ้น
22.ไม่ได้อยู่ในคำอธิบายลักษณะงานของเรา
23.ถ้าเราทำ เขาก็จะสงสัยว่าทำไมพวกเราถึงไม่ทำตั้งแต่แรก
24.มันจะทำให้พวกเราต้องทำงานมากขึ้น
25.ความคิดเข้าทีนี่..ทำให้เป็นกฎเลยแล้วกัน
ไม่จำเป็นว่าท่านจะต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่เก่งกาจเป็นพิเศษหรือ CEO ของบริษัทใหญ่ๆ ถึงจะคิดแล้วลงมือทำได้ มาสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันดีมั๊ยครับ เมื่อท่านคิด (เห็นด้วย)แล้วลงมือทำเดียวนี้เลย "just Do it" เหมือนที่ในกี้บอกไว้ไงล่ะ
นี่คือฉากหนึ่งที่ท่านอาจเคยมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งมีคนสี่คนชื่อ "ทุกคน" "บางคน" "ใครก็ได้" และ"ไม่มีใคร" มีงานสำคัญที่ต้องทำให้เสร็จ และ "ทุกคน" ก็มั่นใจว่า "บางคน" จะทำ "ใครก็ได้" น่าจะทำ แต่ "ไม่มีใคร" ทำ "บางคน" โกรธมากเพราะเป็นงานของ "ทุกคน""ทุกคน" คิดว่า "ใครก็ได้" จะทำ แต่ "ไม่มีใคร" คิดว่า "บางคน" จะทำ เรื่องจึงจบลงที่
"ทุกคน" ตำหนิ "บางคน" เมื่อ "ไม่มีใคร" ทำในสิ่งที่ "ใครก็ได้" น่าจะทำ
ถ้ามีคำไหนที่มากกว่าคำว่า "ขอบคุณ" ขอยกคำนั้นให้ทุกท่าน ที่อุทิศ "ความรู้" และ "เวลา" ที่มีค่าของท่านเป็นวิทยาทานแก่ "ผู้อยากรู้" ทุกคน just do it ครับ !?!
ด้วยจิตคาราวะ บริษัทสายพานไทย จำกัด
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”