สายพานลำเลียง คุณทราบไหมว่าลูกกลิ้ง
(Roller , Idler) มีหน้าที่อะไร
เนื่องจากการใช้งานลูกกลิ้ง ในระบบสายพานลำเลียงเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เราก็มักจะมองข้ามหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับลูกกลิ้งไป ตัวอย่างเช่น ลูกกลิ้งมีหน้าที่อะไร ? ทั้งที่เป็นคำถามง่ายๆแต่ คิดว่าท่านผู้อ่านคงต้องใช้เวลาคิดอยู่ชั่วอึดใจทีเดียว ก่อนที่จะเรียบเรียงคำตอบให้ออกมาถูกต้องและถูกใจได้ ไม่เชื่อลองนึกดูสิครับว่าลูกกลิ้งมีหน้าที่อะไร ลูกกลิ้ง (Roller) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก โดยจะมีขนาดความโตต่างๆกันไป เมื่ออ้างอิงจากมาตรฐาน CEMA ของเยอรมนี จะมีการกำหนดขนาดว่าลูกกลิ้งมีขนาดความโตตั้งแต่ 4"-7" แบ่งตามประเภทของการใช้งานว่ารับ Load มากน้อยแค่ไหน หน้าที่ของลูกกลิ้ง คือ เป็นตัวช่วยพยุง หรือ รองรับสายพานให้คงรูปและเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรงได้โดยสะดวก โดยที่วัสดุบนสายพานไม่ร่วงหล่น
รูปที่ 1 แสดงการใช้ลูกกลิ้งในระบบสายพาน
ลูกกลิ้ง จะประกอบด้วย ปลอก ซีล ตลับลูกปืน โดยทั้งหมดจะถูกสวมอยู่บนเพลา (Shaft) เมื่อลูกกลิ้งหมุนจะเกิดแรงเสียดทานเนื่องจากส่วนประกอบเหล่านี้ (ในการทำงานที่สภาวะปกติความเสียดทานจะ=0.002%)แรงเสียดทานนี้มีผลต่อแรงดึงสายพาน(Belt Tension) แรงดึงสายพาน ก็จะส่งผลต่อแรงฉุดสายพาน (Hose power)ที่จะต้องใช้ขับสายพานในระบบให้เคลื่อนที่ ดังในการออกแบบลูกกลิ้งนั้นจะต้องมีการเลือกใช้ตลับลูกปืน(Bearing)ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานด้วย
แล้วเราจะเลือกขนาดลูกกลิ้งให้เหมาะสมได้อย่างไร
การเลือกใช้ลูกกลิ้งในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสม โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานว่าเป็นงานหนักงานเบาอย่างไร หากเลือกขนาดเล็กเกินไปจะทำให้ต้องใช้ลูกกลิ้งในระบบจำนวนมากขึ้น และอายุใช้งานก็จะสั้นกว่าปกติ หากเลือกขนาดใหญ่เกินไปก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะลูกกลิ้งยิ่งขนาดใหญ่ราคาต่อลูกยิ่งราคาสูง ดังนั้นหากเราสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
จะทำอย่างไรถึงจะเลือกใช้ลูกกลิ้งได้อย่างเหมาะสม? ปัจจัยในการเลือกใช้ลูกกลิ้งมีหลายประการโดยมีปัจจัยที่ใช้พิจารณาขั้นต้น คือ การใช้งานว่าหนักเบาแค่ไหน สภาพแวดล้อมติดตั้งระบบสายพานเป็นอย่างไรสายพานมีน้ำหนักต่อฟุตเท่าไหร่ วัสดุมีน้ำหนักต่อฟุตเท่าไหร่ และความใช้เร็วสายพานเท่าไหร่
ตารางที่ 1 การเลือกใช้งานลูกกลิ้งลำเลียง
Classification
|
Former Series Number
|
Roll Diameter
(inches)
|
Belt Width
(inches)
|
Description
|
B4
B5
|
II
II
|
4
5
|
18 – 48
18 - 48
|
Light Duty
|
C4
C5
C6
|
III
III
IV
|
4
5
6
|
18 – 60
18 – 60
24 - 60
|
Medium Duty
|
D5
D6
|
None
None
|
5
6
|
24 – 72
24 - 72
|
Medium Duty
|
E6
E7
|
V
VI
|
6
7
|
36 – 96
36 - 96
|
Heavy Duty
|
โดย CEMA ได้แบ่งชนิดของลูกกลิ้งเป็น 4 ประเภท คือ
- B สำหรับงานเบา(Light Duty)
- C สำหรับงานหนักปานกลาง (Medium Duty)
- D สำหรับงานหนักปานกลาง (Medium Duty)
- E สำหรับงานหนัก (Heavy Duty)
ขนาดของลูกกลิ้งจะสัมพันธ์กับน้ำหนัก และหน้ากว้างของสายพาน ถ้าสายพานกว้างมากก็จะใช้ลูกกลิ้งที่มีความโตมากเช่นกัน
รูปที่ 2 ลักษณะการรับแรงของลูกกลิ้งลำเลียงและเพลา
การจะเลือกจากภาระน้ำหนักที่กระทำต่อลูกกลิ้งตลอดแนวความยาว เช่น ลูกกลิ้ง CEMA B Idler สำหรับสายพาน หน้ากว้าง 18"จะรับน้ำหนักได้สูงสุด 410 lbs(186 kg) น้ำหนักตรงนี้จะมาจากน้ำหนักสายพาน+น้ำหนักวัสดุต่อความยาวนั่นเอง เราสามารถใช้ตารางข้างล่างนี้ในการเลือกลูกกลิ้งขั้นต้นได้ดังนี้
Belt Width
|
Trough Angle (Carry Idler)
|
Return Idler
|
20°
|
35°
|
45°
|
18
24
|
410
410
|
410
410
|
410
410
|
220
190
|
30
36
|
410
410
|
410
410
|
410
396
|
165
155
|
42
48
|
390
380
|
363
353
|
351
342
|
140
130
|
จากข้อมูลในตาราง น่าจะช่วยให้ท่านพิจารณาใช้งานลูกกลิ้ง ได้อย่างเหมาะสม และง่ายขึ้น ทาง TCB จะพยายามหาเรื่องยากๆ ... มาทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ทำให้ชีวิตของชาวสายพานลำเลียงมีความสุขมากขึ้น
โปรดติดตามเรื่องอื่นๆของเราต่อไปนะครับ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”