ระวัง สายพานไหม้ (ตอนที่ 3)
ในตอนที่ 2 ที่ผ่านมา AV ได้รับใช้แฟนคลับถึงสาเหตุของการเกิดบึ้มๆ ของระบบสายพานลำเลียงเน้นเรื่องเฉพาะของถ่านหิน นึกขึ้นมาทีไรก็ยังสยองกิ๋ยส์ๆๆ อยู่ใช่มั้ยค่ะ แต่แฟนคลับที่ใช้ระบบลำเลียงวัสดุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ถ่านหิน ก็ยังไม่สามารถนอนหลับตาได้นะค่ะ เพราะลักษณะการระเบิดที่เกิดขึ้นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับการขนถ่ายวัสดุทุกชนิดเลยนะค่ะ
ทุกอุตสาหกรรมมีสิทธ์ที่จะเกิดระเบิดได้
ถ้าวัสดุนั้นมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัสดุทางการเกษตรที่มีลักษณะของวัสดุเป็น เม็ด (grain) หรือเป็นผง (flour) เช่น ข้าวโพด น้ำตาล แกลบ เศษไม้ แป้ง ข้าว ฯลฯ ซึ่งวัสดุเล็กๆ เหล่านี้เป็นเชื้อเพลิง (fuel) อย่างดีเช่นเดียวกับผงถ่านหินเหมือนกัน จำไว้นะคะเม็ดฝุ่น (dust particle) ยิ่งเล็กก็เหมือนอนุภาพที่มีการทำลายล้างสูง (เหมือน AV ที่ตัวเล็กๆ เท่านั้นเอง แต่คุณภาพสูง ไม่ใช่ทำลายล้างสูงค่ะ) วิธีป้องกันการระเบิดนี้เบื้องต้นที่สุดคือ ท่านต้องจัดการกำจัดฝุ่นโดยติดตั้งระบบกำจัดฝุ่นโดยเร็วนะค่ะ
ในต่างประเทศมีการระเบิดของ conveyor บ่อยๆเหมือนกัน จนต้องทำวิจัยค้นคว้าหาสาเหตุของการระเบิดมากอย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกาก็ตระหนักถึงอันตรายถึงกับต้องออกกฎเกณฑ์การควบคุมฝุ่นจากวัสดุการเกษตรที่ปล่อยออกมา (U.S clean air act 1990)ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นของเมล็ดข้าวโพด ข้าวฟาง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถ้าเปรียบกับของไทยอาจเป็น ประมาณ น้ำตาล, ไม้ยูคา, มันสำปะหลัง, ข้าว ตลอดจนหญ้าแห้งชนิดต่างๆ เยอะจนเจียรนัยไม่หมดเลยค่ะ ท่านควรรู้เพิ่มเติมอีกสักนิดนะค่ะว่า ความเข้มข้นของฝุ่นที่มีโอกาสทำให้เกิดการระเบิด (MEC) ก็มีตั้งแต่ช่วง 50-150 กรัมต่อลูกบากศ์เมตร ขึ้นอยู่กับ ชนิดและขนาดของฝุ่นของวัสดุที่ขนถ่าย ขณะเดียวกัน NGFA (National grain and feed association) ยังได้ระบุค่า MEC ไว้ชัดเจอยิ่งขึ้นว่า ค่าความเข้มข้นของฝุ่นที่เหมาะสมที่จะเกิดระเบิดที่สุด (OEC-Optimum Explosive Concentration) คือประมาณ 0.5-1.0 ออนซ์ต่อลูกบากศ์ฟุตค่ะ ชักจะงงไปบ้างแล้วใช่มั้ยค่ะ เพราะความรู้มาเป็นชุดทั้งหน่วย อังกฤษ หน่วยเมตริก แต่ไม่ได้มั่วแน่นอน เพื่อให้ท่านนึกภาพออก สังเกตง่ายๆให้ประมาณ ได้ ก็คือเป็นความหนาของฝุ่นประมาณ 1/8-1/4 นิ้วสำหรับพื้นที่เปิดโล่งๆ แต่สำหรับในพื้นที่ปิด เช่นที่ ระบบลำเลียงในแนวดิ่ง (Elevator conveyor)
ในต่างประเทศมีการระเบิดของ conveyor บ่อยๆเหมือนกัน จนต้องทำวิจัยค้นคว้าหาสาเหตุของการระเบิดมากอย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกาก็ตระหนักถึงอันตรายถึงกับต้องออกกฎเกณฑ์การควบคุมฝุ่นจากวัสดุการเกษตรที่ปล่อยออกมา (U.S clean air act 1990)ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นของเมล็ดข้าวโพด ข้าวฟาง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถ้าเปรียบกับของไทยอาจเป็น ประมาณ น้ำตาล, ไม้ยูคา, มันสำปะหลัง, ข้าว ตลอดจนหญ้าแห้งชนิดต่างๆ เยอะจนเจียรนัยไม่หมดเลยค่ะ ท่านควรรู้เพิ่มเติมอีกสักนิดนะค่ะว่า ความเข้มข้นของฝุ่นที่มีโอกาสทำให้เกิดการระเบิด (MEC) ก็มีตั้งแต่ช่วง 50-150 กรัมต่อลูกบากศ์เมตร ขึ้นอยู่กับ ชนิดและขนาดของฝุ่นของวัสดุที่ขนถ่าย ขณะเดียวกัน NGFA (National grain and feed association) ยังได้ระบุค่า MEC ไว้ชัดเจอยิ่งขึ้นว่า ค่าความเข้มข้นของฝุ่นที่เหมาะสมที่จะเกิดระเบิดที่สุด (OEC-Optimum Explosive Concentration) คือประมาณ 0.5-1.0 ออนซ์ต่อลูกบากศ์ฟุตค่ะ ชักจะงงไปบ้างแล้วใช่มั้ยค่ะ เพราะความรู้มาเป็นชุดทั้งหน่วย อังกฤษ หน่วยเมตริก แต่ไม่ได้มั่วแน่นอน เพื่อให้ท่านนึกภาพออก สังเกตง่ายๆให้ประมาณ ได้ ก็คือเป็นความหนาของฝุ่นประมาณ 1/8-1/4 นิ้วสำหรับพื้นที่เปิดโล่งๆ แต่สำหรับในพื้นที่ปิด เช่นที่ ระบบลำเลียงในแนวดิ่ง (Elevator conveyor)
สายพานลำเลียงในพื้นที่ปิด มีความเสี่ยงที่จะเกิดระเบิดได้สูง
s-belt หรือในอุโมงค์ (Tunnel) ค่าความหนาของฝุ่นจะลดลงเหลือแค่ประมาณ 1/16-1/8 นิ้วเท่านั้นค่ะ ก็เกิด MEC ได้ รอยเท้าบนพื้นทรายที่แฟนคลับประทับแล้วยกขึ้น ยังลึกกว่า 1/8 นิ้วมากเลยค่ะ เริ่มน่ากลัวขึ้นมาแล้วใช่มั๊ยคะ ยังนี้ท่านต้องรีบไปทำความสะอาดโรงงานของท่านแล้วละค่ะ ถ้าจะให้ AV รับใช้ก็โทรมานะค่ะ เพราะสายพานไทยมีบริการทำ PM (preventive maintenance) ให้ลูกค้าทุกท่านค่ะ
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทยก็ระเบิดมาหลายครั้งแล้ว ไม่เชื่อ ลองไปถามกันดู?!?!!
AV อยากทำความเข้าใจกับแฟนคลับต่ออีกนิดหน่อยนะค่ะว่า การระเบิดของฝุ่นผงต่างๆ เหล่านี้ไม่มีข้อผูกมัดสัมประทาน ว่าจะระเบิดกับระบบลำเลียงขนส่งแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะนะค่ะ ระเบิดได้ทั้งนั้นล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นระบบลำเลียงแบบทั่วไป (conventional conveyor) ระบบลำเลียงในแนวดิ่ง (Elevator conveyor)
ไม่ว่าจะเป็น bucket elevator-belt , L-belt มีสิทธิเท่าเทียมกันค่ะ เมื่อมีเงื่อนไขเข้าหลักเกณฑ์สามประสาน ที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้ดังที่ AV รับใช้มาในตอนที่ 1 แล้ว ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังหรอกค่ะ
ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1998 เป็น ต้นมาเท่าที่เขาได้ทำการศึกษาเฉพาะเรื่อง Grain dust explosions ที่เกิดขึ้นปรากฏว่า เกิดระเบิดขึ้นใน grain elevator 64 ครั้ง และ 48 ครั้ง เกิดขึ้นที่ grain milling facilities เพื่อไม่ให้การระเบิดเกิดขึ้นได้ง่ายๆ นะค่ะ AV อยากบอกให้แฟนคลับท่องคติป้องกันระเบิดให้ขึ้นใจเสมอนะค่ะว่า "ที่ไหนมีฝุ่นที่นั่นมีระเบิด" ดังนั้นตรงไหนที่เป็นตัวทำให้เกิดฝุ่นตรงนั้นแหละเป็นจุดเริ่มต้นนของการเกิดระเบิด จุดล่อแหลมมีโอกาสเกิดระเบิดมากที่สุด ในระบบลำเลียงล่ะก็ จะอยู่ที่ตำแหน่งที่จุดปล่อย(discharging)และจุดรับ(Loading)วัสดุ หรือเรียกรวมๆ ว่าจุด Transfer points เพราะที่จุดนี้ วัสดุที่บรรทุกมาจะเกิดการกระทบ กระทั่งกัน เกิดการตกกระทบจากที่สูง เกิดการเสียดสี เกิดการเคลื่อนที่แบบปั่นป่วน ( Turbulent) ไปหมด ทำให้เกิดเป็นฝุ่นผงขึ้นเป็นจำนวนมาก และจุดนี้เองก็อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อนเช่น จาก bearing หรือ เกิดจากการ spark ของโลหะที่กระทบกระทั่งกัน หรือแม้แต่ไฟฟ้าสถิตก็สามารถเป็นตัวชนวนที่จะจุดระเบิดได้ทั่งนั้นแหละค่ะ AV ขอโฆษณาหน่อยนะค่ะ ระบบลำเลียงของ Aerobelt ไม่มี carry roller วัสดุระหว่างบรรทุกจะไม่มีการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงแทบไม่มีโอกาสเกิดไฟฟ้าสถิต หรือ เกิดการ spark จากความร้อนจาก Bearing (carry roller ) เปรียบเทียบแล้ว Aerobelt ปลอดภัยจากการระเบิดมากกว่าระบบลำเลียงแบบอื่นๆ ค่ะ
โครงสร้าง AEROBELT มีฝาครอบระบบสายพานลำเลียงด้วย ช่วยป้องกันฝุ่นและไฟฟ้าสถิตย์ ลดการเกิดระเบิดได้
ก่อนถึงโค้งสุดท้ายของที่สุดของบทความชิ้นนี้ AV อยากจะฝากคาถา ป้องกันไม่ให้ระบบลำเลียงที่โรงงานปูนซีเมนต์ ที่โรงงานไฟฟ้าหรือ โรงงานอื่นๆ ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเกิดระเบิดหากโรงงานของแฟนคลับ เป็นโรงงานประเภทอื่นๆ ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์นะค่ะ จำไว้เลยนะคะ
ข้อที่ 1 ให้รีบหาวิธีกำจัดเงื่อนไขของการเกิดระเบิดเพื่อไม่ให้องค์ประกอบ ของสามประสาน คือ เชื้อเพลิง(ฝุ่น) -ตัวจุดระเบิด -oxygen โคจรมาพบกัน แบบพอดิบพอดี ตัดเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งออกไปให้ได้ การเผาใหม้จะไม่เกิดขึ้น
ก) ที่จุดที่ทำให้เกิดฝุ่น ณ ตำแหน่งย่อยวัสดุ (pulverize) ควรมีการเติมตัวลด oxygen (oxygen-deficient) ในขณะปฏิบัติงานด้วยค่ะ
ข) เติมฝุ่นของหิน (rock dust) หรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่จุด pulverizer เพราะฝุ่นของหินจะทำให้ฝุ้นของถ่านหินเจือจางลงทำ ให้การจุดระเบิดยากขึ้น และอย่างลืมติดตั้งระบบกำจัดฝุ่นไว้ด้วยนะค่ะโดยเฉพาะตำแหน่ง discharging และ Loading
ค) เมื่อสังเกตเห็นว่าบริเวณที่เกิดฝุ่นมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจจะต้องสเปย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิ และเป็นการลดฝุ่นไปในตัวด้วยนะค่ะ
ข้อที่ 2 กำจัดแหล่งที่สามารถเป็นสาเหตุของการจุดชนวนออกไป AV ขอยกตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจเง่ายๆและนำไปปฏิบัติได้คือ
ก) ใช้ระบบแม่เหล็กดูดเศษโลหะต่างๆ ออกจากระบบลำเลียงเสียก่อนนะค่ะ
ข) การตัด และการเชื่อมโลหะต้องกระทำในเวลาที่เหมาะสม และควรปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยตามที่โรงงานของท่านกำหนดไว้
ค) อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดควรได้รับมาตรฐานความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ NFPA dust explosion codes
ง) อย่าป้อนถ่านหินร้อน (hot coal) เข้าสู่ pulverizer
จ) ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ถ่านหินเกิดการปะทุหรือสันดาปโดยธรรมชาติ ( spontaneous combustion)
ฉ) ป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิต เช่น ต่อสายดิน (Grounding) ใช้ถุงเก็บฝุ่นถ้าใช้ถุงเก็บฝุ่นชนิด semiconductor Bag จะดีมาก
ช) เชิญพนักงานที่สูบบุหรี่ในบริเวณอันตรายหรือบริเวณห้ามสูบ ให้ไปทำงานที่บริษัทอื่น
ข้อที่ 3 ทำความสะอาดโรงงานให้แจ๋วไปเลย
ก) ป้องกันไม่ให้มีฝุ่นสะสม โดยตรวจสอบระบบลำเลียงให้ดี อย่างให้มีวัสดุล่วงหล่น ( spillage) รั่ว (leakage) และอย่าให้ถ่านหิน degradation ทำความสะอาดพื้นทางเดินตลอดจน ฝุ่นที่เกาะตามเครื่องจักรและโครงสร้าง
ข) ดักจับเก็บพวกวัสดุโลหะหรืออื่นๆ ที่สามารถจะทำให้เกิดประกายไฟออกจากที่ทำงาน อาจจะติดตั้งเครื่องดักจับโลหะในระบบลำเลียงก็ได้นะค่ะ
ค) จัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบกำจัดฝุ่นให้ดี
ข้อที่ 4 ออกแบบวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม
ก) ออกแบบให้ pulverizer ,cyclone ,storage bin ,dust collector ต้องมีความกะทัดรัด (compact) อย่างปล่อยให้มีพื้นที่ว่างที่ไม่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ (dead space) เพื่อป้องกันไม่ให้มีฝุ่นเกาะสะสม
ข) กำจัดจุดอ่อนตำแหน่งที่เป็นจุดสะสมของฝุ่น เช่น บริเวณมุมต่างๆ โครงสร้างต่างๆ ของระบบลำเลียง และฯลฯ
ค) ต้องออกแบบให้การปล่อยถ่านหินออกไปได้โดยสะดวก โดยการออกแบบ chute ให้ได้มุมปล่อยที่เหมาะสม ภายใน chute และอาจจะต้องติดตั้งระบบสั่นสะเทือน (vibrator) เพื่อให้ถ่านหินไหลออกได้ง่าย
ง) ติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินให้กับเครื่องจักรตัวที่สำคัญ ให้สามารถทำงานได้ถ้าระบบไฟฟ้าหลักขัดข้อง
จ) ติดตั้งระบบเตือนภัยเมื่อเกิดสภาวะ over temperature และ overpressure
ฉ) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหรือบรรเทา การเกิดไฟ (fire) และระเบิด (Explosion) ในส่วนของเครื่องจักรที่อยู่ใกล้หรือมีโอกาสเกิดไฟไหม้หรือเกิดระเบิด
ช) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ carbon monoxide (co) ที่เกิดขึ้นใน pulverizer, cyclone, storage bin หรือที่ dust collector เพราะตัว co ที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอัตราการเกิด oxidation ของถ่านหิน การเปรียบเทียบ ค่าความแตกต่าง co ที่เกิดขึ้น (build up) ของอากาศ ก่อนเข้าและออกจากระบบ จะสามารถเป็นตัวชี้ (Indicator) สำหรับผู้ควบคุมงาน ที่จะมีเวลาเพียงพอที่จะหามาตรการป้องกันไฟหรือระเบิดไม่ให้เกิดขึ้น แม้แต่ต้องหยุด (shut down) เครื่องจักเพื่อป้องกันการระเบิดก็ต้องทำค่ะ
ข้อที่ 5 ให้การศึกษา(Education) อบรม (Training) และเขียนระบบปฏิบัติงาน (procedure) ให้ทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องทราบ
ข้อที่ 6 ทำ PM (preventive maintenance) ให้สายพานไทยรับใช้ก็ได้นะค่ะ
ก) กำจัดฝุ่นทุกแห่งหนเท่าที่จะเป็นไปได้
ข) บำรุงรักษาอุปกรณ์ที่มีโอกาสเสียหายได้ง่ายโดยสม่ำเสมอ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ มอเตอร์ damper และอุปกรณ์ที่มีใบพัดเป็นองค์ประกอบ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้ระบบลำเลียงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค) ต้องมีการตรวจสอบ (Inspection) อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญว่าจะสามารถทำงานได้ตลอดเวลาการทำ inspection หากแฟนคลับไม่มีเวลาทำหรือ บุคคลากรไม่พร้อมที่จะทำ ก็สามารถใช้บริการของสายพานไทยได้นะค่ะ ยินดีบริการแน่นอนค่ะ
"ระเบิดและไฟไหม้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งโดยเฉพาะบริเวณที่มีฝุ่น"
ให้สายพานไทยดูแลระบบสายพานของท่านนะค่ะ แล้วโรงงานของท่านจะปลอดจากการระเบิด เพราะ สายพานไทยมีบริการติดตั้งระบบกำจัดฝุ่น (Dust Control)
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......