ส่วนที่อาจเป็นปัญหาหนักใจพอสมควรก็คงจะได้แก่ ความยาวของสายพานในแต่ละม้วน ทั้งม้วนเล็ก ม้วนใหญ่ ซึ่งต่างก็มีความยาวต่างๆกันไป ปัญหาที่ต้องเผชิญอันดับแรก คือ เมื่อต้องการสายพานไปใช้งาน จะทำอย่างไรถึงจะเลือกสายพานที่มีความยาวถูกต้องมาใช้งานได้ทันที หากเลือกแบบเดาๆเอาตามประสบการณ์ว่าม้วนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่านี้ขนาดความหนาของสายพานเท่านี้ ต้องมีความยาวประมาณแค่นี้ นั้นก็อาจจะผิดพลาดมากอักโขอยู่ หรือหากเสี่ยงนำสายพานม้วนนี้เข้าไปเปลี่ยนใน Line แล้ว ปรากฏว่าสายพานสั้นไป 4-5 เมตร นั่นแหละจะเห็นความยุ่งยากมาเยือนแล้ว หนทางแก้ไข คือ ต้องนำสายพานม้วนใหม่มาเปลี่ยน แน่นอนต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการดึงม้วนเก่าออกใน line แล้วเอาม้วนใหม่ลากเข้า line เข้ามาทดแทน เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายก็เพราะความไม่รู้แท้ๆ แต่ความเสียหายแค่นี้ก็อาจจะพอรับได้ ถ้าหากฝ่ายผลิตเขา (ปกติจะเป็นพระเอกในโรงงาน) ไม่เอาเรื่อง เพราะยังมีเวลาเหลือพอที่จะทำการแก้ไขให้เรียบร้อยพอที่จะเริ่มการผลิตไม่ให้เสีย SCHEDULE ได้ แต่ถ้าฝ่ายผลิตเขารอไม่ได้แล้วล่ะก้อ ท่านก็ต้องเรียก “สายพานไทย” แบบฉุกเฉินให้เข้าไปแก้ไขและต่อสายพานที่หน้างานของท่าน ในกรณีเช่นนี้ แน่นอนท่านต้องเสียค่าต่อถึง 2 Joints (ปกติถ้าความยาวของสายพานเพียวพอจะต่อเพียงครั้งเดียว joint เดียว) พร้อมกับเสียค่าสายพานที่ต้องนำมาเชื่อมต่อกับส่วนสายพานที่ความยาวไม่เพียงพอนั้นด้วย สายพานไทยก็สบายไปรับ.........ค่าบริการไป ส่วนท่านก็ต้องจ่ายค่าความไม่รู้ไปตามระเบียบ
สำหรับช่างบางคนอาจจะละเอียดรอบคอบหน่อย เพราะเสียค่าความไม่รู้มาแล้วเมื่อครั้งก่อน คราวนี้ ต้องแก้ตัวไม่ให้ผิดพลาด เพราะโดนด่า (เจ้านาย) ครั้งที่แล้วยังเจ็บไม่หาย ก็ยังไม่อยากเจ็บซ้ำอีก เอางี้ก็แล้วกัน เอาม้วนสายพานขึ้นแสตนด์ (Stand) หาที่กว้างๆ เหมาะๆ ดึงปรื๊ดให้มันยาว คลี่มันออก วัดความยาวให้มันรู้กัน ให้มันเจ๋งๆไปเลย คราวนี้แหละไม่ผิดพลาดแน่ วัดความยาวเสร็จเรียบร้อยก็ต้องม้วนเข้า Stand เก็บไว้ก่อน เขียนความยาวให้ติดแน่น บนสายพาน อย่าให้มันลบได้ง่ายๆหรือหา Label ติดทำบัญชีติดตัวไว้ด้วย มิฉะนั้นอาจจะต้องเหนื่อยอีกรอบแน่นอน โอ้พระเจ้าจอร์จ...ทำไมชีวิตมันยุ่งยากอะไรอย่างนี้ เมื่อไหร่ชีวิตเราจะมีอะไรๆที่ง่ายขึ้นบ้าง ?!? ถึงพูดไป บ่นไป ยังงัยก็ต้องลงมือทำอยู่ดี หาวิธีที่ทำง่ายๆกว่านี้หน่อยได้มั๊ยเนี่ย ?!?
เอาล่ะคราวนี้เรามาพูดถึง ในกรณีที่ท่านต้องอยู่หน้างาน อยู่สนาม ต้องทำงานเร่งด่วนแข่งกับเวลาขณะเดียวกันรายการบันทึกรายละเอียดของม้วนสายพานต่างๆก็ไม่ได้ทำไว้ก่อน ท่านจะทำอย่างไรดี ถ้าหากท่านต้องเลือกสายพานให้มีความยาวที่ใกล้เคียงสายพานใน line เดิม เพื่อทดแทนสายพาน Line เดิมที่เพิ่งขาดไปทั้งเส้น เพราะเกิดอุบัติเหตุเมื่อซักครู่นี่เอง ถ้าจะใช้วิธีดั้งเดิม โดยตั้ง Stand คลี่ออก วัดความยาว คงไม่ทันรับประทานแน่ๆ กรณีเช่นนี้ สายพานไทย มีเคล็ดลับมาบอกท่านเพื่อให้ท่านสามารถต่อสู้กับปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้สำเร็จลุล่วงไปก่อน ที่จะถูกฝ่ายอื่นๆ เขามองด้วยสายตาตำหนิติเตียนสายพานไทย ก็ใคร่เสนอ “สูตรผีบอก” เพื่อหาความยาวของสายพาน ที่ยังอยู่ในม้วน (Reel) โดยไม่ต้องคลี่ออกมาวัดความยาวให้ยุ่งยากให้ท่านนำสูตรนี้ไปลองใช้งานดู ได้ผลอย่างไร แจ้งให้สายพานไทยทราบด้วย หากใช้ได้ผล ให้บอกกันต่อๆไปด้วย จำนวน 5ท่าน แล้วท่านก็จะได้รับอานิสงส์ เมตตามหานิยม จากคนที่รับข่าวสารจากท่านนั่นเอง
หากใช้งานแล้วไม่ได้ผล กรุณาแจ้งให้สายพานไทยทราบด้วย จะได้ไปแจ้งเจ้าที่เจ้าทางเพื่อขอสูตรมาปรับปรุงใหม่ แล้วจะได้เขียนมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง.....เชิญทุกท่านทัศนาสูตรผีบอกได้ ณ บัดนี้
L = (¶)(A)(N) + B
L = ความยาวของสายพานทั้งม้วน (เมตร)
A = ระยะตามที่เห็นในรูปสะเก็ต (เมตร)
N = จำนวนรอบทั้งหมดของสายพาน (รอบ)
(ให้เริ่มนับออกมาตามระยะทาง “C” โดยเริ่มนับจากข้างในมาข้างนอก)
รอบในสุดที่ติดกับ Reel ไม่ให้นับเป็นรอบแรก ตัวอย่าง จากรูป นับได้ ............ รอบ
B = ความยาวที่ส่วนเกินจากรอบที่นับได้ (ดูตามสะเก็ต)
ผีบอกในฝันว่า สูตรที่ว่านี้ใช้ได้ตลอดเวลา ไม่เกี่ยงว่าสายพานจะมีความหนามาก – หนาน้อย ขนาดของม้วน (Shell Size) จะเล็ก – ใหญ่ หรือ ความหลวม – แน่น ของม้วนสายพานจะเป็นอย่างไร
สุดท้ายอย่าลืม!!!! ได้ผลอย่างไร กรุณาแจ้งสายพานไทยให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”