Heat Resistance Belt (an inconvenience truth)
สายพานความร้อน ความจริงที่ใครๆก็ไม่อยากบอก (ตอนที่ ๑)
15 สิงหาคม 2550 วันนี้ตามที่เคยรับปากกับแฟนคลับไว้ว่า AVจะมารับใช้เรื่องสายพานชนิดพิเศษ จะขอ Kick off เรื่องสายพานความร้อนซึ่งเป็นสายพานที่ใช้กันบ่อยๆ ในบ้านเราก่อนเลย
คำถามแรก ที่แฟนคลับต้องสงสัย และอยากถามมากที่สุดเหมือนๆกับตอนที่ AV เข้ามาในวงการใหม่ๆ คือคำถามที่ว่า "เอ๋ะ...อุณหภูมิหรือความร้อนเท่าไหร่นะ...ถึงจะเลือกใช้สายพานทนความร้อน"
AV ก็เป็นคนขี้สงสัยเหมือนกันค่ะ ก็เลยพยายามค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง เช่น YOKOHAMA, CONTINENTAL, GOODYEARS, PHOENIX e.t.c ตลอดจนตำหรับตำราบางเล่มก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ลงตัวจริงๆ สักที ลองดู Comment ของตำราบางเล่ม
" ยางธรรมาติที่ผ่านขบวนการ Vulcanize แล้ว จะสามารถต้านทานอุณหภูมิระหว่าง -40°ถึง+80°c ได้ และสามารถทนทานได้ในระยะเวลาสั้นๆ ที่อุณหภูมิระหว่าง -60°ถึง+130°c " นี่ว่ากันเฉพาะยางธรรมชาตินะคะ แต่ถ้าเป็นยางสังเคราะห์ล่ะก็ ยืดหยุ่นได้มากกว่านี้เลยค่ะ
จาก CEMA (Conveyor Equipment Manufacturers Association) บอกว่าให้เลือกใช้สายพานชนิดพิเศษเมื่อ"อุณหภูมิสูงกว่า 80°c " ส่วนผู้ผลิตบางรายของไทยบอกว่าให้ใช้สายพานทนความร้อนเมื่อ "อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 70-120°c " ส่วนของ consultantและผู้รู้อื่นๆที่อยู่ในวงการ...บอกว่าให้ใช้สายพานความร้อน เมื่อ"อุณหภูมิเกิน 60°c "เอาให้ชัวร์ๆ กันไปเลย
ข้อมูลทั้งหมดทั้งปวงที่ AV ยกตัวอย่างมาให้ดู แต่ล่ะค่ายก็ล้วนแต่มีธงของตัวเองเองว่า อุณหภูมิที่น่าจะเริ่มใช้สายพานชนิดป้องกันความร้อน ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ เท่าๆ ที่สรุปมาได้ก็ อยู่ในช่วง" 60-80°c "
ถามว่าท่านควรจะเลือกใช้อุณหภูมิตรงไหน ถึงจะเหมาะ คำตอบก้คือก็แล้วแต่วิจารณญาณของท่านเอง แต่ถ้าใครถามความเห็นของ AV ว่าช่วยฟันธงหน่อยว่าควรจะเป็นอุณหภูมิสักเท่าไหร่ดี AV ก็ฟังธงว่าเอา " สูงกว่า 60°c ถึงใช้สายพานทนความร้อน "ก็แล้วกัน เหตุผล่วาง่ายๆ นิดเดียวเพราะ AV คิดว่า อุณหภูมิ 60°c เป็นอุณหภูมิสูงสุดที่มนุษย์สามารถแตะต้องและทนได้ ถ้าเกินนี้ AV ถือว่าร้อนแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยขอเอาความรุ้สึกตัวนี้แหละเป็นดัชนีวัดก็แล้วกัน....เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
คำถามข้อที่สอง ก็น่าจะได้แก่ "จุดประสงค์ของการใช้สายพานทนความร้อนนี้คืออะไร และมันสามรถทนความร้อนได้ถึงไหนกัน?"
คำถามข้อนี้ก็ตอบได้ง่ายๆ เช่นกันว่า จุดประสงค์ของการใช้สายพานกันความร้อนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนทำความเสียหายให้แก่สายพาน เป็นการยืดอายุการใช้งานสายพานให้ยาวนาน คุ้มค่าเงินมากยิ่งขึ้น" ส่วนการทนความร้อนสูงสุดของสายพานที่ใช้ EP เป็นผ้าใบรับแรงจะอยู่ที่ไม่เกิน 500°F หรือ 260°c เนื่องจากตัว EP เองจะหลอมละลายเมื่อถึง อุณหภูมินี้(อ้างอิงCEMA) เพราะฉะนั้นหากท่านต้องใช้สายพานขนวัสดุที่มีความร้อนสูงกว่า 260°c ก็ต้องใช้ผ้าใบรับแรงเป็นวัสดุอย่างอื่นนะค่ะ
คำถามข้อที่สาม "อุณหภูมิที่เรากล่าวมาทั้งหมดนี้ มันหมายถึงอุณหภูมิของอะไร และมันเกิดขึ้นที่ไหนกัน ?"
แฟนคลับค่ะ....เครื่องชักจะร้อน..เรื่องชักจะซับซ้อนขึ้นอีก Step หนึ่งแล้วนะค่ะ ตั้งใจทำความเข้าใจให้ดีๆนะคะตอนนี้ AV ขอเฉลยว่า อุณหภูมิที่เรากล่าวถึงนี้หมายถึงอุณหภูมิที่ผิวของสายพานอย่างต่อเนื่องค่ะ เน้นคำว่า อย่างต่อเนื่อง ค่ะ "
แฟนคลับที่ฉลาดๆ ของ AV ก็คงจะนึกคำถามต่อขึ้นมาได้ทันทีว่า เฮ้ย..ถ้าเราเลือกสายพานชนิดทนความร้อนได้ 80°c แต่อุณหภูมิของวัสดุที่ลำเลียงเท่ากับ 100°c มันจะเหมาะสมมั๊ยเนี่ย? คำตอบก็ขอให้ถามผู้ผลิตสายพานว่าเขาออกแบบมาให้สายพานเส้นนั้นทนความร้อนสูงสุด (peak) ชั่วครั้งชั่วคราวเป็นเวลาสั้นได้ ได้กี่องศา แล้วคำว่าเวลาสั้นๆนั้นมันแค่ไหนกันแน่?? เอาคำตอบให้ได้แค่นี้ก่อน เพราะนอกจากเรื่องนี้แล้วนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้พิจรราอีกเป็นต้นว่า อัตราการถ่ายเทความร้อนของวัสดุที่ลำเลียงดีแค่ไหน line สายพานยาวแค่ไหน สัมประสิทธิ์ความร้อน (Thermal Coefficient) ของสายพานมีแค่ไหน? และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ขนาดของวัสดุที่บรรทุก เป็นก้อนใหญ่ ก้อนเล็ก หรือเป็นผง ยิ่งวัสดุมีขนาดเล็กแค่ไหน ย่อมสามารถสร้างความร้อนสะสมอย่างต่อเนื่องให้แก่สายพานได้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้นการเลือกสายพานทนความร้อนให้ถูกต้อง คุ้มค่าแฟนๆต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ให้รอบด้านด้วยนะค่ะ
AV ค่อนข้างแน่ใจว่าแฟนคลับคงอยากรู้รายละเอียดและเหตุผลมากกว่านี้แน่นอน รอหน่อนนะคะAVจะนำเสนอรับใช้ในตอนหน้าค่ะweb นี้ไม่เคยปิดบังความรู้อยู่แล้ว หากแฟนคลับเห็นว่า web นี้ดี อยากให้มีชีวิตอยู่รับใช้แฟนคลับนานๆ ก้ช่วยแนะนำต่อๆไปด้วยนะคะ www.thaiconveyorbelt.com ขอบคุณค่ะ
**ลองมาดูตัวอย่างตาราง Heat resistance belt ของผู้ผลิตบางรายกันบ้างเป็นของแถมไปพลางๆก่อนนะคะ
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”