การ ต่อร้อน ( Vulcanized Splice ) เป็นการ ต่อหัว สายพาน ที่ได้รับการยอมรับอย่าง กว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการต่อที่ให้ความแข็งแรงของหัว สายพาน และให้ความต่อเนื่องของ รอยต่ออย่างสม่ำเสมอมากที่สุด สายพาน ลำเลียง ที่นิยมใช้ในประเทศไทยหลักๆ คือ สายพานผ้าใบ ( Fabric Carcass ) และ สายพาน แบบเส้นลวด( Steel Cord )
รูปที่ 1-2 แสดงการต่อร้อน โดยใช้เตาให้ความร้อนแก่ สายพาน
เทคนิคและขั้นตอนที่ใช้ในการ ต่อ สายพาน ชนิดต่างๆให้มี รอยต่อ ที่แข็งแรงนอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความชำนาญของ ช่างต่อ สายพาน แล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเบื้องต้นหลายอย่างที่ควรพิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความแข็งแรง ( Tensile Strength) ของ โครงสร้างผ้าใบ หรือ โครงสร้างแกนลวด ที่ใช้รับแรงดึงตลอดกระทั่งชนิดและคุณสมบัติของ ยาง (Rubber) ที่ใช้ในการ ผลิต สายพาน เส้นนั้นๆ ดังนั้นก่อนที่จะทำการ ต่อหัว สายพาน ควรพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมดังกล่าวให้ดีเสียก่อนซึ่งจะกล่าวให้ทราบพอสังเขปดังนี้
ปัจจัยที่หนึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัว สายพาน โดยตรงนั่นคือมีความจำเป็นต้องหา ระยะทาบ ของหัว สายพาน ที่ต้องการเสียก่อน ( Splice Requirement ) ระยะทาบ ที่น้อยที่สุดที่หาได้ต้องสามารถรับแรงดึงที่เกิดขึ้นขณะ สายพาน ทำงานทุกสถานะได้ ทางที่ดีและน่าเชื่อถือที่สุดคือทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต สายพาน ( ตามปกติผู้ผลิต สายพาน จะมี Splicing Instruction มาให้กับผู้ซื้อด้วย )แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้ ก็สามารถขอคำปรึกษาจากบริษัท สายพาน ไทย ได้ จากนั้นก็ไปไล่ดู Specification ของ สายพาน ให้ละเอียดเพื่อที่จะทราบว่าจะต้องใช้ กาว ( Heating Solution ) ยางดิบ ( Cover , Intermediate Rubber ) Breaker Fabric ชนิดไหน คุณสมบัติเป็นอย่างไรจึงเหมาะสมกับชนิด สายพาน นั้นๆ เช่น สายพาน ทนความร้อน หรือสายพาน ทนแรงดึงสูง เช่น Steel Cord Belt ย่อมต้องระวังการใช้วัสดุ กาว ยางดิบ ให้ถูกต้อง อยู่ หากไม่สามารถทำตามที่ผู้ผลิต สายพาน แนะนำ ได้ ก็ต้องมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้นั้น ต้องเทียบเท่า (Compatible) และใช้ทดแทนกันได้ หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานรอยต่อย่อมไม่สามารถจะไว้วางใจได้เช่นกัน นอกจากนี้ สายพาน ที่ใช้รับแรงดึงสูง ย่อมต้องการใช้เครื่องมือที่ให้ความดัน (pressure) และอุณหภูมิ (Temperature) สูงกว่า สายพาน ที่รับแรงแบบธรรมดา รวมทั้งระยะเวลา Curing time ก็ย่อมต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน
ปัจจัยที่สองคือรูปแบบของ Splice Layout ปกติแล้วให้ทำตามที่ผู้ผลิต สายพาน แนะนำรวมทั้งให้พิจารณา ระบบ สายพาน ของท่านร่วมด้วย หาก ระบบ สายพาน ของท่านจัดวางอยู่ในแนวเอียง (Steeply Incline) อย่างมาก และมี Drive Pulley ขนาดเล็ก ทำให้เกิด Sharp bend ที่ Upper elevation ซึ่งลักษณะของรูปแบบ สายพาน ชนิดนี้ ต้องใช้ระยะทาบที่มากกว่าระยะทาบปกติที่ผู้ผลิต สายพาน แนะนำ เนื่องจากตัว สายพาน ต้องรับแรงมากกว่าปกติ ณ ตำแหน่ง Sharp Bend ท่านจึงจำเป็นต้องแจ้งให้ ช่างต่อ สายพาน ทราบก็จะเป็นการดี เพื่อเพิ่มระยะทาบบางครั้งถ้ามีความจำเป็น อาจจะต้องทำ Splice Layout เป็นมุมเอียงถึง 45 องศา เพื่อจะให้พื้นที่ระยะทาบมีมากขึ้นเพื่อให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงที่เกิดขึ้นเป็นภาวะต่างๆกัน
Single ply belt เช่น Solid woven carcass, Straight wrap carcass และ aramid carcass มีรูปแบบเฉพาะของการต่อหัว สายพาน เช่น ต่อแบบ Finger Splice หรือแบบ Scap splice ขณะที่สายพาน ผ้าใบ แบบหลายชั้น ( Multi-ply belt ) มีข้อที่ควรคำนึงเป็นลำดับต้นๆก่อนที่จะต่อหัวสายพาน ได้แก่ ต้องต่อหัว สายพาน ให้อยู่ในแนวตรง การกรีดผิวยางต้องไม่ทำให้ชั้นผ้าใบขาด การลอกชั้นผ้าใบต้องไม่ทำให้ผ้าใบในชั้นถัดไปขาด ต้องใช้วัสดุสำหรับงานต่อหัว สายพาน ที่ถูกต้องตามชนิดของ สายพาน นั้นๆ และต้องใช้ความร้อนและอุณหภูมิที่ถูกต้อง ทั้งในช่วงขณะการต่อและช่วง Curing time
สายพาน แบบเส้นลวด (Steel Cord) มีรูปแบบการต่อ (Pattern layout) และระยะทาบ (Splice length) เฉพาะเจาะจง ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นลวด (diameter) และระยะห่าง (Space) ระหว่างเส้นลวดเป็นสำคัญ นอกเหนือจากหัวต่อต้องมีระยะทาบมากพอที่จะทำให้หัวต่อแข็งแรงแล้วแรงยึดเกาะ (Adhesion) ของ ยาง ที่อยู่ระหว่างเส้นลวดจะต้องเพียงพอที่จะยึดเกาะกับเส้นลวดและยางที่อยู่ข้างบนและล่างของเส้นลวด เพื่อรับแรงดึงที่เกิดขึ้นด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องเพิ่มความดัน (pressure) และอุณหภูมิใน Steel cord belt มากว่าใน Fabric belt
แม้ว่าการทำ Preventive maintenance จะเป็นการยืดอายุการใช้งานของา สายพาน ได้อย่างดี แต่การทำ Preventive maintenance ก็ไม่สามารถป้องกัน สายพาน ให้รอดพ้นจากความเสียหาย เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างที่เดินเครื่องจักรได้ ดังนั้นเมื่อ สายพาน เกิดความเสียหายขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามผู้รับผิดชอบต้องมีมาตรการซ่อมแซม บำรุงรักษาสายพาน ทั้งแบบฉุกเฉิน ชั่วคราวและถาวรเพื่อยืดอายุการใช้งานของ สายพาน ให้นานที่สุด
สายพาน ฉีกขาดเล็กน้อย สายพาน ทะลุเป็นรู ผิว สายพาน เสียหาย อาการเหล่านี้ต้องมีมาตรการชั่วคราว อาทิใช้กิ๊บ (GRIP) (Mechanical Fastener) ยึดรอยขาดให้ติดกัน หรือ ซ่อมเย็น (Cold Cure) สำหรับซ่อมผิวหน้า สายพาน ที่เสียหาย เมื่อมีเวลาที่เหมาะสมต้องรีบซ่อมแผลเหล่านั้นอย่างถาวร โดยใช้การต่อร้อนหรือซ่อมร้อนในทันที
โปรดระลึกเสมอว่าไม่ว่าจะใช้วิธีการอะไร ซ่อม สายพาน ก็แล้วแต่จุดประสงค์หลักคือต้องหยุดความเสียหายที่พบเห็นอย่างเร็วที่สุดก่อนที่มันจะลุกลามไปสู่ความเสียหายต่อเนื่องอย่างอื่นที่โดยที่เราคาดไม่ถึง เพราะ สายพาน เป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้นๆแต่เป็นสิ่งที่เปราะบางที่สุด เสียหายง่ายที่สุดใน ระบบ ลำเลียง
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”