สวัสดีค่ะ แฟนคลับที่รักของ AV วันนี้ AV อยากจะขอให้น้องใหม่ของสายพานไทย ซึ่งเป็นวิศวกรขนถ่ายจบการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะ อุตสาหกรรมขนถ่าย มาเป็นผู้บรรเลงแทน AV ไปพลางๆก่อนนะค่ะ AV หวังว่าท่านจะได้รับความรู้และประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ เชิญแฟนๆคลับสัมผัสกับการบรรเลงของน้องใหม่ของพวกเราได้ ณ บัดนี้เลยค่ะ
กล่าวสวัสดีแฟนคลับของ สายพานไทยทุกท่าน ก่อนอื่นผมก็จะขอแนะนำตัวกันก่อนนะครับ ผมก็มีนามว่านาย TN ครับ ได้เข้ามาเป็นน้องใหม่ของ สายพานไทย พวกรุ่นพี่ๆ เขายังไม่ให้ผมทำอะไร แต่บอกให้ลองศึกษาเรื่องของสายพานไปก่อนสัก 1 เดือน แล้วค่อยว่าเรื่องอื่นๆกันต่อไป ผมก็เลยมีโอกาสได้เข้ามาศึกษาเรื่องสายพานอย่างเต็มที่เลย บางอย่างก็รู้บ้าง-ไม่รู้บ้างก็ต้องศึกษากันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นทฤษฏีหรือการปฏิบัติในหน้างานต่างๆ ถ้ามีเรื่องราวอะไรที่ผมเห็นว่าดีและมีประโยชน์กับแฟนคลับ ผมก็จะนำมาฝากเป็นระยะๆนะครับ
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเรื่องของการเลือกผิวสายพานชนิดที่ใช้งานทั่วไป ซึ่งเป็นสายพานที่ใช้กันมากกว่า 90 % ในอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ ผมเห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับแฟนคลับทุกๆท่าน จึงอยากจะขอนำเสนอเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกเลยนะครับ
ก่อนอื่นผมอยากไคร่ขอให้คำจำกัดความของสายพานที่ใช้งานทั่วไป เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนนะครับ
สายพานที่ใช้ลำเลียงแบบทั่วไป หมายถึงสายพานที่ใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่มีความร้อนเกิน 65 % c ไม่มีน้ำมัน ไม่มีสารเคมี ไม่มีกรด-ด่างมาทำความเสียหายแก่สายพาน ดังนั้นสภาวะของสายพานที่ต้องเผชิญต่อความเสียหายก็คือสภาวะของ การขัดสี ( Abrasion ) ปัจจัยเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้สายพานสึกหรอมากหรือน้อยแค่ไหน
ผมได้ศึกษาไปเรื่อยๆก็ติดปัญหาที่ว่าเราจะเลือกผิวสายพานเกรดไหนที่จะเหมาะสมกับวัสดุที่จะลำเลียง ดังนั้นผมจึงเสาะหาข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้กันสักทีว่าเราจะเลือกกันให้ถูกต้องเหมาะสมได้อย่างไร
ด้วยเหตุผลนี้เอง ผมจึงขอเริ่มต้นจากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางที่ผู้ผลิตในประเทศไทยทำขึ้นมาเพื่อเป็น Guide line ให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเลือกสายพาน มาฝากแฟนคลับ สายพานไทยครับ
ตารางที่1 แสดงคุณสมบัติการใช้งานของผิวยางสายพาน
ผมขอยกตัวอย่างให้แฟนคลับเข้าใจมากยิ่งขึ้นดังนี้ครับ ซึ่งต้องใช้ตารางที่ 2 ประกอบภาพพิจารณาด้วยครับ
ตารางที่ 2 แสดงระดับความสามารถของวัสดุในการทำให้สายพานสึกกร่อน
ผมขอยกตัวอย่างแบบว่าเป็นโจทย์เพื่อความเข้าใจง่ายๆนะครับ
ตัวอย่าง สมมุติว่าเราต้องการลำเลียงเศษแก้ว (Glass Fragment) เราจะเลือกสายพานเกรดอะไรดี?
จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่าวัสดุที่ลำเลียงจะมีระดับของการสึกกร่อน (สึกกร่อนน้อย, ปานกลาง, มาก, มากที่สุด) แตกต่างกันออกไปเราก็จะไปดูซิว่า เศษแก้ว (Glass Fragment) จะมีระดับความสึกกร่อนของวัสดุมาก-น้อยเพียงใด เมื่อเราดูในตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่าเศษแก้ว (Glass Fragment) มีค่าความสึกกร่อนของวัสดุมากที่สุด เมื่อเราทราบความสึกกร่อนของวัสดุที่จะลำเลียงแล้วเราก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับตารางที่ 1 เพื่อที่จะเลือกเกรดของผิวสายพานให้เหมาะสมสำหรับลำเลียง เศษแก้ว (Glass Fragment)
เมื่อแฟนคลับ ได้เห็นตารางที่ 1 และ 2 แล้วเป็นไงบ้างครับงงเลยดิ ! ตอนแรกผมก็รู้สึกเหมือนกับทุกท่านละครับว่าเราจะดูกันอย่างไร แต่พอผมได้ถามพี่ๆเขาผมจึงเข้าใจ เพราะฉะนั้นอย่างพึ่งงงครับเดี๋ยวผมจะอธิบายให้แฟนคลับของ สายพานไทย ได้รับทราบกันครับ
เริ่มต้นที่มาตรฐาน(ตารางที่1) ของผิวสายพานที่เรานิยมพูดซื้อขายกันในประเทศไทย ซึ่งระบุว่ามี 3 เกรด คือ
M , N , และ P (ในต่างประเทศจะไม่ค่อยเจอแล้วนะครับที่ระบุเกรดแบบนี้)
เกรด M หมายถึงเกรดที่ทนต่อการสึกหรอได้สูงสุด
เกรด N หมายถึงเกรดที่ทนต่อการสึกหรอได้ปานกลาง
เกรด P หมายถึงเกรดที่ทนต่อการสึกหรอได้ต่ำสุด
แน่นอนว่าราคาเกรด M ย่อมสูงกว่าเกรด N และเกรด N ย่อมสูงกว่าเกรด P และนี่คือเหตุผลที่ทำให้เราต้องมาเลือกเกรดชองสายพานให้ถูกต้องกับการใช้งานของเรา เพื่อประหยัดกะตังค์ของเรานั่นเองล่ะครับ
เมื่อเราเรียนรู้มาตรฐานเกรดสายพาน M, N, P แล้วคำถามต่อมาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเลือกสายพานเกรดไหนถึงจะเหมาะสมกับการใช้งานของเรา
ก่อนอื่นเราก็ต้องทราบกันก่อนว่าเราจะเอาสายพานไปลำเลียงวัสดุอะไร เพื่อที่จะได้ทราบว่าวัสดุชนิดนั้นมีอานุภาพทำลายผิวสายพานได้มากน้อยขนาดไหน พูดง่ายๆก็คือ สามารถทำให้ผิวสายพานสึกกร่อนได้มาก-น้อย-แค่ไหนเพื่อว่าเราจะได้เลือกผิวสายพานให้เหมาะสมกับวัสดุที่เราจะลำเลียงได้เหมาะสมกับสายพานมากที่สุด เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาสายพานของเรา นอกจากนี้ยังจะทำให้สายพานมีอายุในการใช้งานที่ยาวนาน
ตารางที่ 1 เราก็จะได้ว่าค่าความสามารถในการต้านทาน ความสึกหรอของแต่ละเกรด (M, P, N) มีแตกต่างกันออกไปเพราะฉะนั้นเราก็จะไปดูกันซิว่าผิวสายพานเกรดไหนเหมาะที่จะลำเลียง เศษแก้ว (Glass Fragment) มากที่สุด
แน่นอนที่สุด เมื่อเศษแก้วมีค่าระดับการทำให้ผิวสายพานสึกหรอสูงสุด เราจึงเลือกเกรด M ซึ่งมีความสามารถต้านทานการสึกหรอ (Wear Resistance) ได้ถึง 120 มม.3 ในมาตรฐาน DIN ของเยรมันนี้ หรือ 200 มม3 ในมาตรฐาน JIS ของญี่ปุ่น ซึ่งในการสั่งซื้อก็ควรระบุค่า Maximum were loss ไปด้วยเพราะมาตรฐานต่างกัน (เข่น JIS และ DIN) ก็ทำให้ราคาต่างกันไปด้วย ค่า wear loss นี้ยิ่งมีค่าน้อยก็ยิ่งทนทานสามารถต้านทานความสึกหรอได้ดีกว่ามาก ดังนั้นแฟนคลับก็ต้องชั่งใจ และตัดสินใจให้ดี เพื่อท่านจะได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ประโยชน์จากสายพาน เพื่อให้แฟนคลับได้รับประโยชน์สูงสุด น้องใหม่คนนี้ก็เลยไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากตารางที่ 2 เพราะเห็นว่ายังมีวัสดุอีกมากมายที่ไม่ได้ระบุไว้ในตารางที่ 2 เพราะในโรงงานของแฟนคลับต้องมีวัสดุที่แตกต่างจากนี้แน่นอน ของฝากก็ดูได้จากตารางที่ 3 แบบว่าเลือกให้จุใจไปเลย ต้องขอหมายเหตุให้ดูเจ๋งๆหน่อยนะครับว่าในตารางที่ 3
A หมายถึง ความสามารถในการทำให้สายพานสึกหรอปานกลาง (Medium Wear) มีสารเคมีทำลายสายพานได้รุนแรง (Chemical Aggressive) และอุณภูมิสูงกว่า 70˚c
B หมายถึง กัดกร่อนอย่างรุนแรง (Heavy Wear) มีสารเคมีกัดกร่อนอย่างรุนแรงมาก (Highly Aggressive) และอุณภูมิสูงกว่า 120˚c
เขิญดูตามตารางข้างล่างนี้ได้เลยนะครับ (ถ้าติดขัดประการใดขอให้โทรถามที่สายพานได้เลยนะครับ)
นอกจากนี้ ผมเห็นว่าเกรด M, N, P ที่พูดๆคุยๆและใช้กันในประเทศไทยยังไม่เป็น lnter พอผมก็เลยไปค้นหาที่เขาพูดกันแบบ Inter มาฝากแฟนคลับ เผื่อว่าบางครั้ง แฟนคลับ ต้องสั่งสายพานจากต่างประเทศ จะได้มีมาตรฐานเดียวกัน และคุยกันรู้เรื่องครับ ดูเกรดสายพานชนิดต่างๆที่คุยกับใครก็รู้เรื่องกันทั่วโลก จากตารางที่ 4 ได้เลยครับ
ตารางที่ 4 มาตรฐานสากลของเกรดสายพาน
จากเรื่องราวข้างต้นที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดนี้คงจะให้ประโยชน์แก่แฟนคลับ สายพานไทย ทุกท่านนะครับ แล้วผมจะหาเนื้อหามาบอกให้แฟนคลับ สายพานไทย ได้รับทราบกันอีกแน่นอนครับ
ขอพลังจงอยู่กับผมและท่าน
“...เลือกสายพานไทยไว้ดูและระบบสายพานลำเลียงของท่าน เพราะด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์
และของทีมงาน ท่านจะวางใจได้ว่าระบบของท่านจะไม่สะดุด เพราะสายพานหยุดเดิน...”
หรือติดต่อ.......